กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10157
ชื่อเรื่อง: บทบาทวัดคลองแจงกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น : กรณีศึกษาในตำบลสะตอน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The role of Wat khlong Chaeng in democracy promotion in the community: a case study of Saton Sub-district, Soi Dao District, Chanthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิศาล มุกดารัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สารินี ผิวขำ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี
การพัฒนาประชาธิปไตย--ไทย--จันทบุรี
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทวัดคลองแจงตำบลสะตอน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี กับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคบทบาทวัดคลองแจง ตำบลสะตอน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี กับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น (3) ศึกษาแนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะ การวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจงจำนวน 13 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย พระสงฆ์และประชากรภายในวัด จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้นำชุมชนและประชาชนทั่วไป จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ข้อมูลจากเอกสาร จากการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และทำการวิเคราะห์บรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทวัดคลองแจงกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นผ่านความรู้ความเข้าใจในด้านพระพุทธศาสนาและการเมืองการปกครองท้องถิ่นโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 6 ข้อ คือ 1.1) หลักคำสอนที่ส่งเสริมการเป็นคนดีในฐานะของปัจเจก 1.2) หลักคำสอนที่ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อหน้าที่ 1.3) หลักคำสอนที่ส่งเสริมความมีเหตุผล 1.4) หลักคำสอนที่ส่งเสริมให้ถือหลักการกว่าการยึดติดตัวบุคคล 1.5) หลักคำสอนที่ส่งเสริมความอดทน 1.6) หลักคำสอนที่ส่งเสริมการรับฟังคนอื่น บทบาทของวัดกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น 3 บทบาท คือ บทบาทวัดที่มีพระสงฆ์ดำเนินการแทนในด้านการพัฒนาอบรบจิตใจ, บทบาทในด้านที่ปรึกษา, บทบาทวัดกับการสนับสนุนโครงการสวดมนตร์วันศุกร์ของเด็ก (2) ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ 2.1) มีด้านบุคลากรไม่เพียงพอ, ประชาชนเริ่มขาดพื้นฐานความศรัทธาและอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์ (3) แนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะบทบาทวัดคลองแจงกับการเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น คือ เสนอให้ทุกภาคส่วนในท้องถิ่นและระดับประเทศต้องร่วมแรงร่วมใจผลักดันให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นชุมชนคุณธรรมตามหลักพื้นฐานของหลักศีล 5 เพื่อรองรับการเป็นพลเมืองที่ดี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10157
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168780.pdfเอกสารฉบับเต็ม33.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons