Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10175
Title: การยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดีในการปลูกมะม่วงของเกษตรกรในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
Other Titles: Adoption of good agricultural practices for mango production farmers in Bang Khla District, Chachoengsao Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิภาดา แดงมา, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มะม่วง--การปลูก
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้ (1) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดี (2) ความคิดห็นต่อการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดี (3) การยอมรับในการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดีในเชิงความคิดเห็นและในเชิงปฏิบัติ (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตหาการเกษตรที่ดี และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง ปี พ.ศ. 2562 กับสำนักงานเกษตรอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวนทั้งหมด 177 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าตำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอับดับ และการวิคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรเป็นเพศชาย ร้อยละ 52.0 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ปลูกมะม่วงทั้งหมดเฉลี่ย 12.84 ไร่ มีรายได้จาการจำหน่ายมะม่วงเฉลี่ย 108,146.86 บาท/ปี รายได้นอกภาคการเกษตร เฉลี่ย 56,021.05 บาท/ปี (1) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับมากที่สุด และได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่างต่าง ๆ อยู่ในระดับน้อย โดยเฉพาะประเด็นสื่อออนไลน์ (2) เกษตรกรเห็นด้วยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระบบการผลิตหาการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับมาก (3) เกษตรกรยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดีในเชิงความคิดห็นและในเชิงปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะการยอมรับประเด็นด้านแหล่งน้ำ คือ แหล่งน้ำที่ใช้เป็นแหล่งน้ำสะอาดปราศจากสารพิษปนเปื้อน รองลงมาในระดับมาก คือ ด้านวัตถุอันตรายทางการเกษตร และด้านการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลักการเก็บเกี่ยว (4) ปังจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการกษตรที่ดี คือ รายได้จากภาคการเกษตร มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตหาการกษตรที่ดี ส่วนระดับความคิดเห็นต่อการปฏิบัติตามระบบฯ และระดับการได้รับความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับการยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดีในเชิงความคิดเห็น ในขณะที่ การศึกษาความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดี ส่วนจำนวนแรงงานในครัวรือน และประสบการณ์ในการทำสวนมะม่วงตามระบบฯมีความสัมพันธ์ในทิศทางดียวกับการยอมรับการปฏิบัติตามระบบการผลิตทางการเกษตรที่ดีในเชิงปฏิบัติ และ (5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการตลาด โดยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานของรัฐจัดหาช่องทางการตลาดให้กับเกษตรกร เช่น การจัดมหกรรมสินค้าทางการเกษตร การจัดงานของดีประจำท้องถิ่น
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10175
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162178.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons