Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10185
Title: ปัจจัยความสำเร็จในการควบคุมการระบาดโรคหัดของอำเภอเมือง จังหวัดสตูล
Other Titles: Factors in successful control of measles outbreak in Mueang District, Satun Province
Authors: ธีระวุธ ธรรมกุล
รุจกัลยา ขาวเชาะ, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
โรคระบาด--การป้องกันและควบคุม
โรค--การควบคุม
การศึกษาอิสระ--สาธารณสุขศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงประเมินผลครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บริบท ปัจจัยนำเข้ากระบวนการ และผลลัพธ์ของการดำเนินงานควบคุมการระบาดโรคหัดของอำเภอเมือง จังหวัดสตูล และ (2) ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานในการควบคุมการระบาดโรคหัดของอำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประชากร คือ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานสาธารณสุข บุคลากรของกองกองอาธารมสุข และสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคหัด จำนวนทั้งหมด 36 คน เครื่องมือในการศึกษาเป็นแบบตรวจรายการ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน โดยค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบราคในแบบประเมิน ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์ เท่ากับ 0.74, 0.92, 0.93 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ใน การดำเนินงานควบคุมโรคหัดในพื้นที่ ผลการประเมินภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดี และ 2) ปัจจัยความสำเร็จในการควบคุมการระบาดโรคหัดของอำเภอเมือง จังหวัดสตูล ได้แก่ การมีจัดตั้งทีมปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มการเกิดโรคในพื้นที่เพื่อนำมากำหนดแผนงานและแนวทางการดำเนินงานโดยผ่านการเห็นชอบจากผู้บริหาร การให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดยเน้นย้ำให้พื้นที่มีความครอบคลุมของวัคซีนให้ไห้ได้ตามเป้าหมาย มีการเฝ้าระวังมีการตรวจจับผู้ป่วยที่รวดเร็วและเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างครบถ้วน ระบบการรายงานผู้ป่วยมีความรวดเร็วทันเวลา มีจำนวนบุคลากรเพียงพอและพร้อมสำหรับปฏิบัติงานด้านการสอบสวนและควบคุมโรค มีทรัพยากรด้านวัคซีน วัสดุอุปกรณ์ และระบบข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศมีพร้อมและเพียงพอในการปฏิบัติงาน และมีระบบการสื่อสารและประสานงานกับเครือข่ายและประชาชนในการลงพื้นที่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10185
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
162200.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.37 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons