Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10224
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของคนขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors affecting the political behavior of taxi drivers in Bangkok Metropolitan Area
Authors: ปธาน สุวรรณมงคล
รัฐกร กลิ่นอุบล, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
คนขับรถแท็กซี่--ไทย--กรุงเทพฯ
การศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์
การเมือง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของคนขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร (2) ศึกษารูปแบบของพฤติกรรมทางการเมืองของคนขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร และ (3) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมทางการเมืองของคนขับรถแท็กซี่ที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยวิธีการศึกษาค้นคว้าอิสระใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าอิสระ คือ แบบสอบถาม โดยสอบถามกลุ่มตัวอย่างคนขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนสิ้น 389 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติอันได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาค้นคว้าอิสระพบว่า (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของคนขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ ปัจจัยด้านความคิดเห็นและปัจจัยด้านทัศนคติส่วนปัจจัยด้านค่านิยมและปัจจัยด้านความเชื่อไม่มีผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของคนขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร (2) รูปแบบพฤติกรรมทางการเมืองของคนขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ 2.1 ด้านการออกเสียงเลือกตั้ง คือ ส่วนใหญ่ไปเลือกตั้งทุก ๆ ครั้งที่ผ่าน ๆ มา และจะไปใช้สิทธิอย่างแน่นอนสำหรับการเลือกตั้งในอนาคตอันใกล้นี้ รูปแบบในด้านการเป็นเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองและผู้รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง คือ ไม่เคยเข้าร่วมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งให้กับผู้สมัคร 2.2 ด้านการเป็นผู้มีบทบาทในชุมชน คือ ไม่เป็นคณะกรรมการชุมชนในหมู่บ้านที่ตนอยู่อาศัย ไม่เคยส่งหนังสือหรือโทรศัพท์ร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่รัฐบาล หรือหน่วยงานต่าง ๆ รูปแบบในด้านการติดต่อกับทางราชการ คือ ไม่เคยไปขอให้ทางราชการช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชน รูปแบบในด้านการเป็นผู้ประท้วง คือ ไม่เคยเข้าร่วมชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหา เห็นว่าการประท้วงเป็นสิ่งที่ถูกต้องในระบอบประชาธิปไตย 2.3 ด้านการเป็นผู้สื่อสารทางการเมือง คือ มีการติดตามข่าวสารทางการเมืองทางสื่อทุก ๆ วัน และเคยให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องการเมืองแก่เพื่อนๆ และบุคคลที่ใกล้ชิด (3) ข้อเสนอแนะ คือ ให้สภาพัฒนาการเมืองร่วมมือกับสหกรณ์รถแท็กซี่จัดทำแผนพัฒนาทางการเมือง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเมืองให้กับคนขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10224
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
113085.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons