Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10225
Title: | บทบาทของนักธุรกิจกับการเมืองท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองสัตหีบ |
Other Titles: | Roles of businessman and local politics : a case study of Sattahip Municipality |
Authors: | รสลิน ศิริยะพันธุ์ วีระพงษ์ โยชน์เมืองไพร, 2509- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี เทศบาลเมืองสัตหีบ--การมีส่วนร่วมของประชาชน นักธุรกิจ--กิจกรรมทางการเมือง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี. |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของนักธุรกิจกับการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลเมืองสัตหีบ (2) ผลกระทบที่เกิดจากการที่นักธุรกิจ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองท้องถื่นในเทศบาลเมืองสัตหีบ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ประชากรวิจัยได้แก่ (1) กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลเมืองสัตหีบ (2) กลุ่มข้าราชการประจำในเทศบาลเมืองสัตหีบ (3) กลุ่มนักธุรกิจในเขตเทศบาลเมืองสัตหีบ กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลเมืองสัตหีบ จำนวน 7 คน กลุ่มข้าราชการประจำในเทศบาลเมืองสัตหีบ จำนวนวน 4 คน และกลุ่มนักธุรกิจในเขตเทศบาลเมืองสัตหีบ จำนวน 8 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 19 คน ผลการวิจัย พบว่า (1) บทบาทของนักธุรกิจ ประกอบด้วย การลงสมัครรับเลือกตั้งการช่วยรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง การสนับสนุนทางด้านการเงินให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง การให้การสนับสนุนด้านการเงิน วัสดุและอุปกรณ์ในกิจกรรม แผนงาน/โครงการต่างๆของเทศบาล การเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะผู้บริหารเทศบาล การติดตามตรวจสอบการทำงานของเทศบาล การแสดงความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขปัญหาชุมชนให้กับเทศบาล (2) ผล กระทบของการที่นักธุรกิจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองท้องถิ่น คือ ผลกระทบต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในเรื่องเกี่ยวกับ การซื้อเสียงเลือกตั้ง วัฒนธรรมการเมืองในเรื่องอำนาจนิยมและชนชั้นนำ การผูกขาดอำนาจการบริหารงาน การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน และผลกระทบต่อเทศบาลเมืองสัตหีบ ในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชัน การตรวจสอบการบริหารงานจากประชาชน และการบริหารงานของเทศบาล ผลกระทบดังกล่าวมีไม่มากนัก ทั้งนี้เนื่องจากระบบการเมืองเปิดกว้าง ความเข้มแข็งของชุมชน ระบบการตรวจสอบมีประสิทธิภาพ และช่องทางการร้องเรียนมีมาก ทำให้นักธุรกิจที่เข้ามาทำงานการเมืองต้องเน้นผลงานที่สนองความต้องการของท้องถิ่นเป็นสำคัญ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10225 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
119269.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 6.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License