Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10230
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอาภาภรณ์ จันทร์ณรงค์, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-11-01T08:30:23Z-
dc.date.available2023-11-01T08:30:23Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10230-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรค (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรค จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล (3) ศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรค การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือพนักงานราชการกรมควบคุมโรคที่ปฏิบัติงานในส่วนกลางจำนวน 376 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า (1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรค ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยอันดับแรกคือด้านความต้องการมีชีวิต รองลงมาคือด้านความต้องการสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านความต้องการเจริญก้าวหน้า ตามลำดับ (2) ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรค จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่าพนักงานราชการกรมควบคุมโรค ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอายุงาน แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานราชการกรมควบคุมโรคที่มีตำแหน่งงานแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ในด้านความต้องการสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านความต้องการเจริญก้าวหน้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) แนวทางในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรค ด้านความต้องการมีชีวิตคือการพิจารณาค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของงาน ด้านความต้องการสัมพันธ์กับผู้อื่นคือมีนโยบายส่งเสริมความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน โดยเฉพาะการสร้างความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้านความต้องการเจริญก้าวหน้าคือส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งงานโดยให้ความสำคัญกับการสรรหาและเลือกสรรจากแหล่งภายในth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectกรมควบคุมโรค--ข้าราชการและพนักงานth_TH
dc.subjectการทำงาน--แง่จิตวิทยาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรคth_TH
dc.title.alternativeWork motivation of government employees in Department of Disease Controlen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study objectives were (1) to study level of work motivation of government employees of Department of Disease Control; (2) to compare work motivation of government employees of Department of Disease Control by personal characteristics; and (3) to study the way to promote work motivation of government employees of Department of Disease Control. This study was survey research. The sample group was 191 government employees of Department of Disease Control from the population of 376. This study gathered data by using a questionnaire with 0.97 reliability value and analyzed by using percentage, mean, standardized deviation, t-test, One-Way ANOVA and least significant difference. The study results found that (1) work motivation of government employees of Department of Disease Control was at the high level both overall and each aspect; the first aspect was followed by physiological needs love and belonging needs and self-actualization heeds respectively ; (2) comparing work motivation of government employees of Department of Disease Control by personal characteristics found that there were no difference on sex, age, education level and year of work-experience government employees with different position had different work motivation on love and belonging needs and self-actualization needs at 0.05. ; level statistically significant and (3) the way to promote work motivation of government employees of Department of Disease Control were as follows; Physiological needs, pay for performance and appropriate responsibility ; love and belonging, needs set policy to promote the relationship between colleagues ; and self-actualization needs, promote growth by promoting for withinen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_134659.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons