กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10230
ชื่อเรื่อง: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรค
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Work motivation of government employees in Department of Disease Control
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อาภาภรณ์ จันทร์ณรงค์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
กรมควบคุมโรค--ข้าราชการและพนักงาน
การทำงาน--แง่จิตวิทยา
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรค (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรค จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล (3) ศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรค การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือพนักงานราชการกรมควบคุมโรคที่ปฏิบัติงานในส่วนกลางจำนวน 376 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 191 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า (1) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรค ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยอันดับแรกคือด้านความต้องการมีชีวิต รองลงมาคือด้านความต้องการสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านความต้องการเจริญก้าวหน้า ตามลำดับ (2) ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรค จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่าพนักงานราชการกรมควบคุมโรค ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอายุงาน แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ส่วนพนักงานราชการกรมควบคุมโรคที่มีตำแหน่งงานแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ในด้านความต้องการสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้านความต้องการเจริญก้าวหน้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) แนวทางในการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมควบคุมโรค ด้านความต้องการมีชีวิตคือการพิจารณาค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบและสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของงาน ด้านความต้องการสัมพันธ์กับผู้อื่นคือมีนโยบายส่งเสริมความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน โดยเฉพาะการสร้างความสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ด้านความต้องการเจริญก้าวหน้าคือส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งงานโดยให้ความสำคัญกับการสรรหาและเลือกสรรจากแหล่งภายใน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10230
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_134659.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons