กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10241
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยความสำเร็จในการเข้าสู่ตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Successful factors for the chief executive of the Makhamtia Sub-district Administrative Organization, Mueang District, Surattani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสนีย์ คำสุข
วิณา ก๊กเลี่ยม, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ย--ตำแหน่ง
การศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี.
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการเข้าสู่ตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรณีเลือกตั้งใหม่เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยใช้การเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและทีมงาน อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและทีมงาน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การองค์การบริหารส่วนตำบลที่สนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 10 คน ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งระดับแกนนำชุมชน จำนวน 10 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิชัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เจาะลึกเบบมีโครงสร้าง วิคราะห์และนำเละนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณา ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับเลือกตั้งมี 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นปัจจัยภายในของผู้สมัคร ประกอบด้วย ภูมิหลัง คุณสมบัติและลักษณะส่วนตัวและประสบการณ์ทางการเมืองท้องถิ่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่ทำให้ผู้สมัครได้เข้าสู่ตำแหน่ง เพราะผู้ชนะการเลือกตั้งเป็นคนมีพื้นเพเดิมในพื้นที่ มีญาติพี่น้องจำนวนมาก และยังเป็นคน มีบุคลิกลักษณะดีมีภาวะความเป็นผู้นำสูง มีประสบการณ์ทางการเมืองท้องถิ่นในอดีตที่โปร่งใส และการมีทีมงานที่เก่งดี เป็นที่ยอมรับของประชาชน ส่วนที่สอง เป็นปัจจัยภายนอก ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม และการเมืองในเขตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ผู้สมัครได้เข้าสู่ตำแหน่งได้สำเร็จประกอบด้วย ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เจริญขึ้น ทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยประชากรจากต่างถิ่นย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่เพิ่มขึ้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงมีทั้งคนตั้งเดิมในพื้นที่และกลุ่มผู้อยู่อาศัย ความรุนแรงทางการเมืองมีน้อย ประชาชนให้ความสำคัญกับการเมืองในระดับดี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10241
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
119968.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons