กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10243
ชื่อเรื่อง: | บทบาททางการเมืองของนักธุรกิจ : ศึกษากรณีนักธุรกิจในจังหวัดนครราชสีมา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Political role of business : a case study of business in Nakhon Ratchasima Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปธาน สุวรรณมงคล วินยา มกรพงศ์, 2500- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี ธุรกิจกับการเมือง การศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์ นักธุรกิจ--ไทย--กิจกรรมทางการเมือง. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี. |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้เครื่องมือวิจัยคือการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของนักธุรกิจในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา (2) ปัจจัยที่ทำให้นักธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งใช้เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มตัวอย่าง คือ นักธุรกิจในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 4 คน นักการเมืองในพื้นที่ จำนวน 4 คน และทำการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักธุรกิจนั้น เป็นบทบาทที่เป็นทางตรงได้แก่ การสนับสนุนพรรคการเมือง การเข้ามาสมัครรับเลือกตั้ง และบทบาททางอ้อม ได้แก่ การมีส่วนร่วมในฐานะเป็นตัวแทนหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรม รวมทั้งกิจการธุรกิจส่วนตัว ในการเข้ามาให้ข้อเสนอแนะทางการเมือง การดำเนินธุรกิจ รวมทั้งการต่อรองผลประโยชน์ทางธุรกิจกับรัฐบาลและเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าในท้องถิ่น และการแสดงบทบาทความเคลื่อนไหวในนามองค์กรทางการค้าที่มีผลต่อนโยบายรัฐบาล ทางด้านปัญหาอุปสรรคในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของนักธุรกิจ ได้แก่ เรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวม การแทรกแซงของนักการเมืองและขาดกระบวนการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารจากสภาหอการค้าจังหวัดที่มีต่อภาคธุรกิจโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น (2) ปัจจัยในการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของนักธุรกิจ ได้แก่ ปัจจัยทางด้านส่วนบุคคล คือ ภูมิหลังทางด้านการประกอบธุรกิจของแต่ละบุคคลมีภูมิหลังทางการประกอบธุรกิจการค้า ธุรกิจ บันเทิงและมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองท้องถิ่น ปัจจัยทางด้านรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตย ความสนใจทางการเมือง คือ ครอบครัวมีส่วนร่วมทางการเมือง และครอบครัวให้ความสนใจกับการเมือง ตลอดจนการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง และปัจจัยทางด้านการทำงานเพื่อสังคม |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10243 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
124062.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License