Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10248
Title: | อิทธิพลของอินเตอร์เน็ตที่มีต่อการเมืองไทยตั้งแต่การเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550-2552 |
Other Titles: | Influence of the internet on politics in Thailand since the election December 23, 2550-2552 |
Authors: | ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ ศรินทร เมธีวัชรานนท์, 2492- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์ การเลือกตั้ง--ไทย อินเทอร์เน็ต--แง่การเมือง--ไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตในบริบทของการสื่อสารทางการเมือง (2) อิทธิพลของการรับส่งข่าวสารผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีต่อทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ การสนับสนุนและการต่อด้านของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทย และ (3) ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะในการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตทางการเมืองต่อส่วนราชการและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อความมั่นคงของประเทศ การวิจัยในเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีประชากรวิจัยได้แก่ ประชาชนใน กรุงเทพมหานครที่ใช้อินเตอร์เน็ตโดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตทางการเมืองของประชาชนในช่วง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 จนถึง พ.ศ. 2552 ยังไม่สอดคล้องกับบริบทของการสื่อสารทางการเมือง โดยเน้นเฉพาะการรับฟังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมแบบปรึกษาหารือเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น (2) อิทธิพลของอินเตอร์เน็ตที่มีต่อทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ การสนับสนุนและการต่อด้านของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการมืองในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในระดับต่ำ (3)ปัญหาสื่ออินเตอร์เน็ตที่มีอิทธิพลต่อการเมืองมาจากปัญหาเชิงนโยบายที่รัฐคุมอำนาจแทรกแซงปิดกั้นสื่อ โดยส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศและปัญหาเชิงปฏิบัติ เมื่อผู้ใช้สื่อขาดคุณธรรมจริยธรรม จิตสำนึกต่อส่วนรวมทำให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยก มุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเมืองเพียงอย่างเดียว ประชาชนส่วนใหญ่จึงหลีกเลี่ยงการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตทางการเมือง ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ 3 ประเด็น คือ (3.1) รัฐควรสนับสนุนบทบาทของสื่ออินเตอร์เน็ตในการสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยกระบวนการทางกฎหมายและมาตรการอื่นๆ ที่เหมาะสม(3.2) องค์กรที่เกี่ยวข้องเสนอมาตรการที่ชัดเจนในประเด็นเรื่องจริยธรรมการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตทางการเมือง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10248 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
125580.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License