กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10250
ชื่อเรื่อง: | บทบาทผู้บริหารท้องถิ่นในการสร้างค่านิยมวัฒนธรรมประชาธิปไตย : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Role of local governor in supporting democratic culture values : a case study of Ban Luang Sub-district Administration Organization Sena District, Ayutthaya Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิศาล มุกดารัศมี รัชศักดิ์ รอดเงิน, 2508- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง--การบริหาร ประชาธิปไตย--ไทย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี. |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นในการสร้างค่านิยมวัฒนธรรมประชาธิปไตย (2) ปัญหาอุปสรรคในการสร้างค่านิยมวัฒนธรรมประชาธิปไตยของผู้บริหารท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มนักการเมืองและข้าราชการในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง กลุ่มประชาสังคม กลุ่มสภาประชาชนตำบลบ้านหลวง กลุ่มผู้นำท้องที่และอาสาสมัครชุมชน รวมกลุ่มตัวอย่าง 18 คน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า (1) บทบาทผู้บริหารท้องถิ่น คือ การฝึกฝนให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีการกล่อมเกลาทางการเมือง เริ่มตั้งแต่การสรรหาบุคคลเข้าสู่ระบบการเมือง จัดกิจกรรมวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยในหมู่บ้าน จัดตั้งกลุ่มองค์กรในพื้นที่ให้คัดเลือกผู้บริหารและการถอดถอนผู้บริหาร สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม จัดทำแผนพัฒนาตามความต้องการของประชาชน ปฏิรูปการเมืองท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ สร้างจริยธรรมคุณธรรมทางการเมือง นำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างทั่วถึง (2) ปัญหาอุปสรรค คือการฝึกฝนหรือจัดกิจกรรมเพื่อให้ประชาชนเกิดการซึมซับระบอบประชาธิปไตยเป็นไปอย่างยากลำบากเนื่องจากยังไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงต่อหลักการของระบอบประชาธิปไตย สภาพพื้นฐานของสังคมยังแบ่งพรรคแบ่งพวก ขาดการร่วมมือทางการเมือง ความตื่นตัวทางการเมืองอยู่ในระดับต่ำ ใช้เสียงส่วนใหญ่ในการตัดสินแพ้ชนะโดยไม่สนใจเสียงส่วนน้อย และไม่สนใจรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ ยึดตัวบุคคลมากกว่าหลักเกณฑ์ กติกา การเข้าร่วมทางการเมืองก็จะป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเป็นหลัก |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10250 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
127284.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License