Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1025
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุดจิต เจนนพกาญจน์ | th_TH |
dc.contributor.author | คนึงนิตย์ ชัยนิรัติศัย, 2506- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-08-26T03:04:57Z | - |
dc.date.available | 2022-08-26T03:04:57Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1025 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาและความเชื่อของผ้าปรกหัวนาคของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยยวน (2) แนวทางในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ผ้าปรกหัวนาคให้คงอยู่ต่อไป วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้รู้ (หัวหน้ากลุ่มทอผ้า) 2 คน ผู้นําไทยยวน (ผู้เฒ่า,ผู้แก่ที่มีเชื้อสาย ไทยยวน) 2 คน ผู้นําชุมชน (ข้าราชการที่มีเชื้อสายไทยยวน) 2 คนนักวิชาการ (ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับผ้าจกและชาติพันธุ์ไทยยวน) 2 คน กลุ่มทอผ้าและผู้ที่เคยซื้อหรือใช้ผ้าปรกหัวนาค 10 คน อดีตนาคที่เคยบวชและใช้ผ้าปรกหัวนาค 2 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบบสํารวจชุมชนและแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการพรรณาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า (1) ประวัติความเป็นมาของผ้าปรกหัวนาคเป็นมรดกที่สืบทอดมาพร้อมกับการอพยพของชาวไทยยวนเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ตําบลคูบัว อําเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่พ.ศ. 2347 เป็นต้นมาและมีการใช้เรื่อยมาจนกระทั่งเริ่มเลือนหายไปเมื่อ 60 กว่าปีที่ผ่านมาลวดลายที่ชาวไทยยวนนิยมนํามาทอเป็นผ้าปรกหัวนาคได้แก่ ลายขอประแจ ลายขอ ลายกูด ลายนกคู่กินน้ำฮ่วมเต้า ลายมะลิเลื้อย ลายม้า ลายนก (2) ความเชื่อเกี่ยวกับผ้าปรกหัวนาคของชาวไทยยวนซึ่งมีความเชื่อเกี่ยวกับการบวชว่าเมื่อบุตรชายมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องจัดการให้บุตรของตนได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาขณะบวชเป็นนาคต้องใช้ผ้าปรกหัวนาคจึงจะถือว่าได้สร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ จะทําให้ตนเองได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสู่สุคติ ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้าปรกหัวนาคแต่เดิมน่าจะมีความเชื่อในการใช้ผ้าปรกหัวนาคแต่ไม่มีการบันทึกเอกสารหลักฐานและไม่มีการสืบทอดเรื่องราวไว้ จนรุ่นต่อๆ มาและปัจจุบันจึงไม่มีใครทราบและมีความเชื่อในเรื่องนี้แต่จะใช้ผ้าปรกหัวนาคเพื่อกันความร้อนจากแสงแดดหรือ โชว์ฝีมือ ลวดลายในการทอผ้าจกตลอดจนบ่งบอกถึงรสนิยม ฐานะ ของนาคและครอบครัวว่าเป็นคนมีฐานะดีปัจจุบันจะใช้หมวกปีกกว้างแทนผ้าปรกหัวนาค (3) การฟื้นฟูผ้าปรกหัวนาคคงจะเป็นไปได้ยากเพราะปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันทําให้ชาวไทยยวนนิยมทอผ้าพื้น มากกว่าผ้าจกเพราะสามารถทอผ้าพื้นได้รวดเร็วและทอง่ายกว่าผ้าปรกหัวนาคไม่ยุ่งยาก (4) การอนุรักษ์ผ้าปรกหัวนาคควรต้องฟื้นฟูประเพณีการบวชแบบดั้งเดิม ควรปลูกจิตสํานึกให้ชาวไทยยวนรุ่นใหม่สนใจ ภูมิใจในภูมิปัญญาของตนเอง ควรมีกองทุนทางศิลปะเข้ามาช่วยพยุงค่าการตลาด ควรจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับผ้าจกที่ใช้ในชีวิตประจําวันในอดีตโดยมีผ้าปรกหัวนาครวมอยู่ด้วย ควรมีการสอนเสริมในหลักสูตรของนักเรียนชั้นประถมเพราะเด็กในช่วงวัยนี้จะจดจําได้เร็วสอนง่าย หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจังให้มากขึ้น | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | การบวช--พิธีกรรม | th_TH |
dc.subject | การบวช--ไทย | th_TH |
dc.title | การอนุรักษ์ผ้าปรกหัวนาคในพิธีบวชของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยยวน : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทยยวน ตำบลคู่บัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Conservation of the cloth for covering the head of aspirants in becoming a monk in the ordination of the Tai-Yuan Ethnic Group : a case study of the Tai-Yuan Ethnic Group in the Koo-Bua Sub-District of Mueang District in Ratchaburi Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาศิลปศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of t his research were to study (1) t he historical background and belief o f t he Ta i-Yuan Buddhist a spirants’ veil, a nd (2) also t he w ay of i ts’ conservation. The research methodology was qualitative research. The information was collected f rom 2 0 informants t hat c an b e identified as t wo o f Tai - Yuan Buddhist aspirants’ veil experts, Tai-Yuan community leaders, government officials, the former Buddhist a spirants a nd also ten weavers an d users. Research instruments w ere indepth interview inventory, community survey a nd t he observation form . T he da ta obtained was descriptive analysis. The findings were revealed that; ( 1) The use of the Buddhist aspirants’ veil was handed down by the migration of the Tai-Yuan at Koo-Bua in the Maueng district of Ratchaburi since 1804, a nd i t ha d di sappeared over 60 y ears a go. The popular de signs of the veil, which were us ually used in the ordination, were Korprajae, Kor, Kood, Nokkookinmamhautao, Malileay and were also represented in the animal designs such as birds, horses and elephants; (2) The Buddhist aspirants’ veil represented t he Buddhist belief o f l ife af ter death. Th at is, t he parents whose twenty-year-old son was ordained with the use of this kind of veil, their spirit, will be sent to heaven after death. However, there was no documentary re cordorany evidence defined. In the other term, the veil was used f or protecting t he Buddhist aspirant from the heat of the sunlight or even to show the artistic skill, taste and also the financial status of the user. In the present time, the hat is generally used in the ordination, instead of the veil; (3) According to the economic problem, it is difficult to restore the use of the Buddhist aspirants’ veil because the use of this veil is not available at the present time and the weavers tend to do the simple design rather than “Chok” as well; (4) T he conservation of the Buddhist aspirants’ veil should be done by gaining the awareness of the younger generation of Tai-Yuan on their wisdom that is rooted in the ordination. Additionally, there should be the government support in terms o f t he ar tistic fund, Chok weaving cam paign, an d al so the weaving course should be in the primary school’s local curriculum. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | จิตรา วีรบุรีนนท์ | th_TH |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext (7).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 33.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License