Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1025
Title: การอนุรักษ์ผ้าปรกหัวนาคในพิธีบวชของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยยวน : กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทยยวน ตำบลคู่บัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
Other Titles: Conservation of the cloth for covering the head of aspirants in becoming a monk in the ordination of the Tai-Yuan Ethnic Group : a case study of the Tai-Yuan Ethnic Group in the Koo-Bua Sub-District of Mueang District in Ratchaburi Province
Authors: สุดจิต เจนนพกาญจน์
คนึงนิตย์ ชัยนิรัติศัย, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
จิตรา วีรบุรีนนท์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์
การบวช--พิธีกรรม
การบวช--ไทย
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประวัติความเป็นมาและความเชื่อของผ้าปรกหัวนาคของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยยวน (2) แนวทางในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ผ้าปรกหัวนาคให้คงอยู่ต่อไป วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้รู้ (หัวหน้ากลุ่มทอผ้า) 2 คน ผู้นําไทยยวน (ผู้เฒ่า,ผู้แก่ที่มีเชื้อสาย ไทยยวน) 2 คน ผู้นําชุมชน (ข้าราชการที่มีเชื้อสายไทยยวน) 2 คนนักวิชาการ (ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับผ้าจกและชาติพันธุ์ไทยยวน) 2 คน กลุ่มทอผ้าและผู้ที่เคยซื้อหรือใช้ผ้าปรกหัวนาค 10 คน อดีตนาคที่เคยบวชและใช้ผ้าปรกหัวนาค 2 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก แบบสํารวจชุมชนและแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการพรรณาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า (1) ประวัติความเป็นมาของผ้าปรกหัวนาคเป็นมรดกที่สืบทอดมาพร้อมกับการอพยพของชาวไทยยวนเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ตําบลคูบัว อําเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่พ.ศ. 2347 เป็นต้นมาและมีการใช้เรื่อยมาจนกระทั่งเริ่มเลือนหายไปเมื่อ 60 กว่าปีที่ผ่านมาลวดลายที่ชาวไทยยวนนิยมนํามาทอเป็นผ้าปรกหัวนาคได้แก่ ลายขอประแจ ลายขอ ลายกูด ลายนกคู่กินน้ำฮ่วมเต้า ลายมะลิเลื้อย ลายม้า ลายนก (2) ความเชื่อเกี่ยวกับผ้าปรกหัวนาคของชาวไทยยวนซึ่งมีความเชื่อเกี่ยวกับการบวชว่าเมื่อบุตรชายมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องจัดการให้บุตรของตนได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาขณะบวชเป็นนาคต้องใช้ผ้าปรกหัวนาคจึงจะถือว่าได้สร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ จะทําให้ตนเองได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสู่สุคติ ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ผ้าปรกหัวนาคแต่เดิมน่าจะมีความเชื่อในการใช้ผ้าปรกหัวนาคแต่ไม่มีการบันทึกเอกสารหลักฐานและไม่มีการสืบทอดเรื่องราวไว้ จนรุ่นต่อๆ มาและปัจจุบันจึงไม่มีใครทราบและมีความเชื่อในเรื่องนี้แต่จะใช้ผ้าปรกหัวนาคเพื่อกันความร้อนจากแสงแดดหรือ โชว์ฝีมือ ลวดลายในการทอผ้าจกตลอดจนบ่งบอกถึงรสนิยม ฐานะ ของนาคและครอบครัวว่าเป็นคนมีฐานะดีปัจจุบันจะใช้หมวกปีกกว้างแทนผ้าปรกหัวนาค (3) การฟื้นฟูผ้าปรกหัวนาคคงจะเป็นไปได้ยากเพราะปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันทําให้ชาวไทยยวนนิยมทอผ้าพื้น มากกว่าผ้าจกเพราะสามารถทอผ้าพื้นได้รวดเร็วและทอง่ายกว่าผ้าปรกหัวนาคไม่ยุ่งยาก (4) การอนุรักษ์ผ้าปรกหัวนาคควรต้องฟื้นฟูประเพณีการบวชแบบดั้งเดิม ควรปลูกจิตสํานึกให้ชาวไทยยวนรุ่นใหม่สนใจ ภูมิใจในภูมิปัญญาของตนเอง ควรมีกองทุนทางศิลปะเข้ามาช่วยพยุงค่าการตลาด ควรจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับผ้าจกที่ใช้ในชีวิตประจําวันในอดีตโดยมีผ้าปรกหัวนาครวมอยู่ด้วย ควรมีการสอนเสริมในหลักสูตรของนักเรียนชั้นประถมเพราะเด็กในช่วงวัยนี้จะจดจําได้เร็วสอนง่าย หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจังให้มากขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1025
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext (7).pdfเอกสารฉบับเต็ม33.18 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons