Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10263
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสนีย์ คำสุข | th_TH |
dc.contributor.author | ศิริศิลป์ เด่นชาญชัย | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-11-02T07:09:16Z | - |
dc.date.available | 2023-11-02T07:09:16Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10263 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์หานัยทางการเมืองการปกครองของกฎหมายมังรายศาสตร์ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เน้นการวิเคราะห์ตีความเพื่อหานัยทางการเมืองการปกครองของกฎหมายมังรายศาสตร์ โดยศึกษาจากฉบับวัดเสาไห้ และเอกสารทุติภูมิที่มีผู้ศึกษาไว้ในแง่มุมต่าง ๆ และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมังรายศาสตร์แบบเจาะลึกรวม 3 ท่าน และนำเสนอผลการศึกษาในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า มังรายศาสตร์เป็นกฎหมายที่พระยามังรายใช้ปกครองล้านนาโดยใช้หลักธรรมะและสอดคล้องกับ จารีต ประเพณีในสมัยนั้น 1) นัยทางการเมืองการปกครองเรื่องอำนาจ ได้แก่ อำนาจตามจารีตประเพณี คือ การสืบสันตติวงศ์ อำนาจตามการแลกเปลี่ยน คือ การให้ตำแหน่งหรือผลประโยชน์ และอำนาจตามการบังคับบัญชา คือ การจัดสรรให้ควบคุมบังคับบัญชาไพร่พล 2) นัยทางการเมืองการปกครองเรื่องการจัดสรรทรัพยากรของอาณาจักรหรือสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม ได้แก่ การควบคุมไพร่ฟ้าและไพร่พล คือ การใช้อำนาจหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้ 3) นัยทางการเมืองการปกครองเรื่องความขัดแย้ง ได้แก่ การขัดแย้งในลักษณะข้อมูลวิวาทระหว่างผู้ใต้ปกครอง การตัดสินมูลคดีที่อิงหลักธรรมะ การกำหนดโทษตามขั้นตอนของการกระทำผิด ซึ่งยุติด้วยคำสั่งของผู้ปกครอง 4) นัยทางการเมืองการปกครองเรื่อง การจัดสรรทรัพยากรแห่งอำนาจ ได้แก่ การแบ่งสรรอำนาจคือ ที่ดินและไพร่พลตามสถานภาพของคนที่ได้รับ 5) นัยทางการเมืองการปกครองเรื่องที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาณาจักรโดยอำนาจของพระยา ได้แก่ การอ้างดินแดนที่ได้ชัยชนะจากการออกศึก รวบรวมเป็นอาณาจักรล้านนา ส่วนไพร่ฟ้าและไพร่พล คือผู้คนที่อาศัยในอาณาจักรล้านนา ตลอดจนขุนนางที่ทำการปกครองหัวเมืองชั้นนอกแทนพระยาและ 6) นัยทางการเมืองการปกครองเรื่องการกำหนดกฎเกณฑ์ของอาณาจักร ได้แก่ การใช้อำนาจในการเมืองการปกครอง คือ มอบหมายหรือออกคำสั่งที่ทุกคนในอาณาจักรนั้นต้องปฏิบัติตาม ภายใต้กรอบกฎหมายมังรายศาสตร์ เพื่อ ความสงบสุขอย่างต่อเนื่อง | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มังรายศาสตร์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี. | th_TH |
dc.title | นัยทางการเมืองการปกครองของกฎหมายมังรายศาสตร์ | th_TH |
dc.title.alternative | Political and governmental implication of Mangrai Sastra Law | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชารัฐศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
130411.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License