กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1026
ชื่อเรื่อง: | การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อความเชื่อในการใช้ยาแผนโบราณ : กรณีศึกษากลุ่มผู้ใช้แรงงานในเขตเมือง จังหวัดสมุทรปราการช่วง พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2553 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of socio-cultural changes on the belief in traditional medicine usage : a case study of Samut Prakan Urban Workers B.F. 2540 - B.F. 2553 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จิตรา วีรบุรีนนท์ ชัยวัฒน์ อนันตสิทธิ์สกุล, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุดจิต เจนนพกาญจน์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ยาแผนโบราณ ความเชื่อ--ไทย ไทย--ความเป็นอยู่และประเพณี |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประเภทและรูปแบบของยาแผนโบราณที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานในเขตเมือง จังหวัดสมุทรปราการเลือกใช้ (2) ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาแผนโบราณของกลุ่มผู้ใช้แรงงานในเขตเมือง จังหวัดสมุทรปราการ (3) แนวโน้มการใช้ยาแผนโบราณในอนาคตของผู้ใช้แรงงานในเขตเมือง จังหวัดสมุทรปราการ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึก และการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ใช้แรงงานจำนวน 21 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 8 คน ซึ่งประกอบด้วย เภสัชกร แพทย์เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด และผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แล้วอธิบายผลการวิจัยในลักษณะพรรณาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า (1) ประเภทของยาแผนโบราณที่ผู้ใช้แรงงานเลือกใช้ ได้แก่ ยาระบบทางเดินอาหารรูปแบบยาแผนโบราณที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานเลือกใช้ ได้แก่ ยาน้ำและยาผง ยาแผนโบราณที่ผู้ใช้แรงงานเชื่อถือมากที่สุดและใช้มากที่สุด ได้แก่ ยาหอม (2) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงขององค์กรสังคม ได้แก่ การ เปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายไปเป็นครอบครัวเดี่ยวทำให้การใช้ยาแผนโบราณลดลง กลุ่มเพื่อนในที่ทำงาน ชนชั้นแรงงาน และชุมชนมีการใช้ยาแผนโบราณน้อย ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลต่อความเชื่อในการใช้ยาแผนโบราณประกอบด้วยปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน ได้แก่ ค่านิยม การขัดเกลาทางสังคม การศึกษา การคมนาคม และ ศาสนา ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ สภาพเศรษฐกิจ และ การอพยพย้ายถิ่น ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเป็นการเปลี่ยนแปลงของสถาบันทางสังคมที่มีผลกระทบต่อความเชื่อในการใช้ยาแผนโบราณ ได้แก่ สถาบันเศรษฐกิจ รายได้ของผู้ใช้แรงงานที่จำกัด และสถาบันคมนาคม ความ สะดวกและความรวดเร็วในการไปการเดินทางไปโรงพยาบาลทำให้การใช้ยาแผนโบราณลดลง สถาบันทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยาแผนปัจจุบันมีการวิจัยและพัฒนาทำให้การใช้ยาแผนโบราณลดลง แต่การพัฒนารูปแบบยาแผนโบราณทำให้การใช้ยาแผนโบราณเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน สถาบันการเมือง การกำหนดนโยบาย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติส่งเสริมการใช้ยาแผนโบราณให้เพิ่มขึ้น ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อความเชื่อในการใช้ยาแผนโบราณ ได้แก่ การโฆษณาส่งเสริมการใช้ยาแผนโบราณ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของแรงงาน การปลูกฝังวัฒนธรรม และการรับวัฒนธรรมใหม่ในการใช้ยาแผนปัจจุบัน (3) แนวโน้มการใช้ยาแผนโบราณในอนาคต ผู้ใช้แรงงานยังใช้ยาแผนโบราณต่อไป ทางจังหวัดสมุทรปราการมีนโยบายการส่งเสริมการบริการแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1026 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (8).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 33.54 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License