กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10270
ชื่อเรื่อง: | การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2550 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Decentralization to local government under the 1997-2007 constitution |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปธาน สุวรรณมงคล ศักดา หาญยุทธ, 2488- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การกระจายอำนาจปกครอง--ไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น--ไทย--การบริหาร. การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สาระสำคัญของการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในบริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ.2540 ถึง พ.ศ.2550 (2) ปัญหา อุปสรรคในการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบการวิจัยเชิงพรรณนา โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากประชากร คือ ผู้ทรงคุณวุฒิและเป็นผู้ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการกระ จายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง คือ รองเลขาธิการสภาผู้แทน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี สมาชิกสภาจังหวัด นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญในการกระจายอำนาจฯ ได้แก่ ความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการและบริการนโยบายสาธารณะของท้องถิ่น สำหรับส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะทำหน้าที่กำกับดูแลเท่าที่จำเป็น (2) ปัญหา อุปสรรค ของการกระจายอำนาจฯได้แก่ ปัญหาเชิงนโยบายที่เกิดจากรัฐบาลและนักการเมืองไม่มีเจตนารมณ์และจิตสำนึกในการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ปัญหาในทางปฏิบัตินั้นเกิดจากส่วนราชการและข้าราชการไม่มีความกระตือรือร้นในการถ่ายโอนอำนาจเท่าที่ควร เนื่องจากไม่ต้องการสูญเสียบทบาทหน้าที่ อำนาจ สิทธิ และผลประโยชน์จากภารกิจที่ต้องถ่ายโอน ปัญหาสุดท้ายเกิดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองที่ยังไม่มีความพร้อมรองรับการถ่ายโอนอำนาจ ไม่มีความรู้ ความสามารถหรือทักษะต่อภารกิจนั้น ๆ เพียงพอ และไม่กระตือรือร้นในการประสานขอรับการถ่ายโอนภารกิจ เนื่องจากกลังการเปลี่ยนแปลงที่เคยมีผลประโยชน์ทับซ้อน ตลอดจนการเมืองภายในท้องถิ่นเอง (3) ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาคือ รัฐบาลต้องแสดงเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาการกระจายอำนาจอย่างชัดเจนเป็นลำดับแรก เพื่อให้ผู้ปฏิบัติทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือร่วมใจกันดำเนินการตามแผนการปฏิบัติที่มีอยู่แล้ว ข้าราชการต้องเสียสละเพื่อประเทศชาติโดยส่วนรวม องค์กรปกคอรงส่วนท้องถิ่นต้องพัฒนาให้มีความพร้อมและเป็นฐานแหล่งความรู้ให้แก่ประชาชนในการพัฒนาประชาธิปไตย ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10270 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
139433.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 7.48 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License