Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10291
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรวลัญช์ โรจนพล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวัฒนา จำปาดิบรัตนกุล, 2513--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-03T08:00:27Z-
dc.date.available2023-11-03T08:00:27Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10291-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) อำนาจของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามคำสั่งที่ 22/2558 (2) ปัญหาและอุปสรรคในการใช้อำนาจของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามคำสั่งที่ 22/2558 และ (3) แนวทางแก้ปัญหาการใช้อำนาจของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านตามคำสั่งที่ 22/2558 วิธีดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงรวม 18 คนได้แก่ ปลัดอำเภอ 2 คน กำนัน 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 4 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจตำแหน่งสารวัตร 2 คน และชาวบ้าน 8 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตการณ์ วิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) กำนันผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจเพิ่มขึ้นตามคำสั่ง 22/2558 ได้แก่ (1.1) อำนาจในการตั้งด่านตรวจและยึดรถไว้ชั่วคราว (1.2) อำนาจในการตรวจตามสถานที่ ร้านค้า โรงงานหรือกิจการพาณิชย์ที่เกี่ยวกับการแต่งรถ และตรวจสถานที่ ร้านค้า สถานบริการหรือสถานประกอบการที่เปิดกิจการคล้ายสถานบริการ รวมทั้งที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงสถานศึกษาหรือหอพักที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงสถานศึกษา (1.3) เมื่อพบการกระทำการอันฝ่าฝืนกฎหมาย กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมิต้องทำรายงานเหตุดังที่ว่านั้นรายงานนายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณาและออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สั่งปิดและสั่งห้ามมิให้เปิดสถานที่ ร้านค้า โรงงาน กิจการพาณิชย์แล้วแต่กรณี (2) ปัญหาในการใช้อำนาจได้แก่ ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่แล้ว และปัญหาของอำนาจที่ซ้ำซ้อนอยู่ในตัวของกำนันผู้ใหญ่บ้านเองคือเดิมมีอำนาจหน้าที่เป็นผู้นำมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชน แต่กลับมีอำนาจที่ซ้อนมาเป็นอำนาจในการปราบปรามประชาชน และปัญหาเรื่องของผลประโยชน์ที่ไม่ชอบธรรม ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการใช้อำนาจ (3) แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคคือการแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติด้านรักษาความสงบเรียบร้อยและปราบปรามผู้ฝ่าฝืนกฎหมายให้ชัดเจนโดยปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานอื่นอย่างสอดคล้องและไม่ขัดแย้ง อันได้แก่ กำนันผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ฝ่ายข่าว ออกตรวจตามสถานที่ต่างๆอย่างไม่เป็นทางการและแจ้งข้อมูลให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectคณะรักษาความสงบแห่งชาติth_TH
dc.subjectกำนัน--กิจกรรมทางการเมือง--ไทย--สิงห์บุรีth_TH
dc.subjectผู้ใหญ่บ้าน--กิจกรรมทางการเมือง--ไทย--สิงห์บุรีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองth_TH
dc.titleปัญหาการใช้อำนาจของกำนันผู้ใหญ่บ้านในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามคำสั่ง 22/2558 กรณีศึกษากำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีth_TH
dc.title.alternativeProblems on authority of subdistrict and village headman in the National Council for Peace and Order (NCPO) in order no. 22/2558 : a case study of subdistrict and village headman in Tapya Subdistrict, In Buri District, Sing Buri Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were 1) to study the authority of subdistrict and village headman in the National Council for Peace and Order (NCPO) in Order No.22/2558, (2) to investigate problems and obstacles of the authority of subdistrict and village headman in the NCPO Order No.22/2558 and (3) to propose the solution for the authority of subdistrict and village headman in the NCPO Order No.22/2558. The qualitative approach was applied in this research. The purposive sampling consisted of two deputy district chiefs, a subdistrict headman, a village headman, four assistant village headmen, two polices (Inspector) and eight local people (18 samples in total). The research instruments were in-depth interview and observation, and then the data was analyzed by descriptive analysis. This research found that (1) the subdistrict and village headman had more authority due to the NCPO Order No.22/2558 as following aspects: (1.1) Authority to set up checkpoints and seize vehicles temporarily, (1.2) Authority to inspect shops, factories or commercial businesses related to modified car shop, entertainment spot located nearby educational institutions or student dormitory and (1.3) The subdistrict and village headman had to report the incident when they break the law to district chief and governor for considering and issue a license revocation in order to close shops, factories and commercial businesses. (2) The problems of authority were duplicate roles with the existing responsible department and redundant authority within the subdistrict and village headman. An original authority of the subdistrict and village headman was to maintain happiness to people but the authority of NCPO Order No.22/2558 was to suppress the people. The last problem was unjustified benefits. (3) The solutions were clarification the roles in keeping peace and suppression of offenders. The subdistrict and village headman and responsible department should work together without any conflicting. The subdistrict and village headman just have a role to unofficially inspect and then report to the responsible department for further implementation.en_US
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161958.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.93 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons