กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10297
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการให้บริการของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. ในเขตอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The members' opinion towards the consumption of an agricultural marketing co-operative limited service in Bangplama District SuphanBuri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
หิรัญ มณีจันทร์, 2554-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตร--ไทย--สุพรรณบุรี--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการของ สกต. (2) ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการของของ สกต. และ(3) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการของของ สกต. ในเขตอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ วิธีการศึกษาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาในเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ สมาชิกของ สกต. สุพรรณบุรี จาก 14 ตำบลในเขตอำเภอบางปลาม้า สุ่มตัวอย่าง 369 ราย แบบโควต้า ตามสัดส่วนจำนวนประชากรในแต่ละตำบลของอำเภอบางปลาม้า และการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ การแจกแจง ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test และ F-test (One-Way ANOVA) และเปรียบเทียบพหุคูณของเชฟเฟ่ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชายอายุ 46-55 ปี มีสถานภาพสมรส การศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้สุทธิต่อปี มากกว่า 50,000 บาทขึ้นไป ภาระหนี้สินมากกว่า 100,000 บาทขึ้นไป บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำธุรกิจ คือ ตนเอง ระยะเวลาที่ทำธุรกิจ คือ 1-10 ปี ประเภทธุรกิจที่ทำร่วมกับ สกต.คือการซื้อและการขาย ประเภทสินค้า คือ สินค้าทางการการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยา เครื่องจักรกลเกษตร เป็นต้น ความถี่ในใช้บริการต่อปี คือ ใช้บริการปีละ 1-2 ครั้ง มูลค่าที่ทำธุรกิจเฉลี่ยต่อปี คือ 10,000-50,000 บาท วันที่มาใช้บริการ คือ ในเวลาทำการจันทร์-ศุกร์ (08.30-16.30 น.) (2) ความคิดเห็นของสมาชิกต่อการให้บริการของสกต.พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมที่มีผลต่อการใช้บริการอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการอันดับแรก คือ ด้านพนักงานผู้ให้บริการ รองลงมาคือด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านส่งเสริมการขาย ด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ (3) ระดับความคิดเห็นของสมาชิก สกต. ต่อการให้บริการของ สกต.พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อการให้บริการของ สกต.ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการ อันดับแรก คือ ด้านพนักงานผู้ให้บริการ รองลงมา คือ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านส่งเสริมการขาย และด้านผลิตภัณฑ์ ตามลำดับ และพบว่าสมาชิก สกต.ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้บริการในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และสมาชิกที่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการใช้บริการทั้งในภาพรวมและรายด้าน คือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านพนักงานผู้ให้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10297
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.84 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons