Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10307
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.contributor.authorสุพงศ์ ชยุตสาหกิจ, 2484--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-06T03:53:05Z-
dc.date.available2023-11-06T03:53:05Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10307-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการตัดสินใจทางการเมืองของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ต่อการกำหนดนโยบายสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา และ (2) ผลกระทบจาก นโยบายของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ในการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการตัดสินใจทางกวรเมืองของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ต่อกรณีดังกล่าว เป็นไปตามกลไกของระบบการเมืองแบบปัจจัยนำเข้า-นำออก โดยมีปัจจัยนำเข้าด้านความต้องการ คือ 1.1) ความต้องการ นำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชา 1.2) ความต้องการรักษาสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยว ข้อง กับปราสาท พระวิหารในด้านต่างๆของไทย 1.3) ความต้องการรักษาสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่ดีต่อกัมพูชาของไทย และมีปัจจัยนำเข้าด้าน เกื้อหนุน คือ 1.3.1 แนวปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 1.3.2 แนวคิดพรรครัฐบาลเสียงข้างมาก 1.3.3 การ สนับสนุนขององค์กรระหว่างประเทศ และ 1.3.4 แนวคิดสนับสนุนของกลุ่มนักวิชาการและประชาสังคมบางกลุ่ม รัฐบาล พิจารณาตามกระบวนการนโยบายสวธารณะอย่างรวบรัด แล้วตัดสินใจกำหนดปัจจัยนำออก คือ นโยบายสนับสนุนให้ กัมพูชานำตัวปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่ทำให้ไทยสูญเสียสิทธิทางด้านเขตแดน โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนและดำเนินการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา การตัดสินใจดังกล่าวก่อให้เกิด การต่อต้านคัดด้านจากสภาพ แวดล้อมทางการเมืองอย่างกว้างขวางและรุนแรง แม้รัฐบาลจะรับเอาปัจจัยป้อนกลับเพื่อ พิจารณาทบทวน และออกปัจจัยนำออกชุดใหม่ ก็ไม่สามารถรักษาดุลยภาพของระบบการเมืองไว้ได้ (2) การตัดสินใจทาง การเมืองของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบ ดังนี้ 2.1) ผลกระทบทางการเมือง คือ ผลกระทบ ต่อความมั่นคงของรัฐบาล ความยากลำบากในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการบนความขัดแย้งเชิงนโยบาย และความ ยากลำบากในการกล่อมเกลาทางการเมืองและการสื่อสารทางการเมือง 2.2) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ คือ ผลกระทบต่อ ธุรกิจการท่องเที่ยวและการค้าขายบริเวณชายแดน ต่อโครงการความร่วมมือไทย-กัมพูชา และต่อการค้าการลงทุนข้ามชาติ ระหว่างไทยกับกัมพูชา 2.3) ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม คือผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมภายในและ ระหว่างประเทศ การสูญเสียโอกาสในการฟื้นฟูปูชนียสถานที่สำคัญร่วมกันและความเสี่ยงต่อการเกิดกระแสคลั่งชาตินิยม และ 2.4) ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือความเสื่อมทรามของความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ผลกระทบต่อ จิตวิญญาณของอาเซียนที่จะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน และความเสี่ยงต่อการสูญเสียสิทธิในดินแดนอย่างถาวรth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการเมืองของโลกth_TH
dc.subjectรัฐบาล--สมัยสมัคร สุนทรเวช--ไทย--นโยบายของรัฐ.th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์th_TH
dc.subjectไทย--ปัญหาชายแดน--กัมพูชาth_TH
dc.subjectประสาทหินเขาพระวิหาร.th_TH
dc.subjectกัมพูชา--ปัญหาชายแดน--ไทยth_TH
dc.titleผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชต่อกรณีกัมพูชานำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกth_TH
dc.title.alternativeImpact of Samak Sundaravej Government's policy upon the inscription of Cambodia's Preah Vihear Temple on the World Heritage Listen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
119970.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons