กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10307
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชต่อกรณีกัมพูชานำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Impact of Samak Sundaravej Government's policy upon the inscription of Cambodia's Preah Vihear Temple on the World Heritage List
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์
สุพงศ์ ชยุตสาหกิจ, 2484-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
การเมืองของโลก
รัฐบาล--สมัยสมัคร สุนทรเวช--ไทย--นโยบายของรัฐ.
การศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์
ไทย--ปัญหาชายแดน--กัมพูชา
ประสาทหินเขาพระวิหาร.
กัมพูชา--ปัญหาชายแดน--ไทย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการตัดสินใจทางการเมืองของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ต่อการกำหนดนโยบายสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา และ (2) ผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ในการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและข่าวสารต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก ประชากรของการวิจัยนี้ คือ กลุ่มนักการเมือง สมาชิกรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาสังคมและประชาชน ผู้ใด้รับผลกระทบ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึก คือบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการตัดสินใจ กำหนดนโยบาย ผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ผู้ตรวจสอบ ผู้สังเกตการณ์ และผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง วิเคราะห์ข้อมูลโดยอิงทฤษฎีระบบการเมือง และทฤษฎีกระบวนการนโยบายสาธารณะ ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการตัดสินใจทางการเมืองของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ต่อกรณีดังกล่าวเป็นไปตามกลไกของระบบการเมืองแบบปัจจัยนำเข้า-นำออก โดยมีปัจจัยนำเข้าด้านความต้องการ คือ 1.1) ความต้องการนำปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชา 1.2) ความต้องการรักษาสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยว ข้อง กับปราสาทพระวิหารในด้านต่างๆของไทย 1.3) ความต้องการรักษาสัมพันธ์ฉันท์มิตรที่ดีต่อกัมพูชาของไทย และมีปัจจัยนำเข้าด้าน เกื้อหนุน คือ 1.3.1 แนวปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 1.3.2 แนวคิดพรรครัฐบาลเสียงข้างมาก 1.3.3 การสนับสนุนขององค์กรระหว่างประเทศ และ 1.3.4 แนวคิดสนับสนุนของกลุ่มนักวิชาการและประชาสังคมบางกลุ่ม รัฐบาลพิจารณาตามกระบวนการนโยบายสาธารณะอย่างรวบรัด แล้วตัดสินใจกำหนดปัจจัยนำออก คือ นโยบายสนับสนุนให้กัมพูชานำตัวปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลกโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่ทำให้ไทยสูญเสียสิทธิทางด้านเขตแดน โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนและดำเนินการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา การตัดสินใจดังกล่าวก่อให้เกิด การต่อต้านคัดด้านจากสภาพ แวดล้อมทางการเมืองอย่างกว้างขวางและรุนแรง แม้รัฐบาลจะรับเอาปัจจัยป้อนกลับเพื่อพิจารณาทบทวน และออกปัจจัยนำออกชุดใหม่ ก็ไม่สามารถรักษาดุลยภาพของระบบการเมืองไว้ได้ (2) การตัดสินใจทางการเมืองของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ดังกล่าว ก่อให้เกิดผลกระทบ ดังนี้ 2.1) ผลกระทบทางการเมือง คือ ผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาล ความยากลำบากในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการบนความขัดแย้งเชิงนโยบาย และความยากลำบากในการกล่อมเกลาทางการเมืองและการสื่อสารทางการเมือง 2.2) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ คือ ผลกระทบต่อ ธุรกิจการท่องเที่ยวและการค้าขายบริเวณชายแดน ต่อโครงการความร่วมมือไทย-กัมพูชา และต่อการค้าการลงทุนข้ามชาติระหว่างไทยกับกัมพูชา 2.3) ผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรม คือผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมภายในและระหว่างประเทศ การสูญเสียโอกาสในการฟื้นฟูปูชนียสถานที่สำคัญร่วมกันและความเสี่ยงต่อการเกิดกระแสคลั่งชาตินิยมและ 2.4) ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือความเสื่อมทรามของความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ผลกระทบต่อ จิตวิญญาณของอาเซียนที่จะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน และความเสี่ยงต่อการสูญเสียสิทธิในดินแดนอย่างถาวร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10307
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
119970.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons