Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10313
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุมพล หนิมพานิชth_TH
dc.contributor.authorสายัณห์ วสุธาสวัสดิ์, 2498-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-06T04:18:13Z-
dc.date.available2023-11-06T04:18:13Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10313en_US
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สาเหตุที่มาของนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก (2) ผล กระทบทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากการใช้นโยบายและมาตรการการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก (3) ปัญหาอุปสรรค และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่ ปรากฎทางสื่อสารมวลชน (หนังสือพิมพ์) เว็บไซต์ คำสัมภาษณ์ หรือข้อมูลของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อกรรมาธิการ สาธารณสุข วุฒิสภา และกรรมาธิการเกษตร สภาผู้แทนราษฎร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ เก็บเอกสาร และใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) นโยบายและมาตรการการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกในระหว่าง พ.ศ. 2547-2548 เกิดขึ้นเพื่อควบคุมการระบาดของโรคที่ได้แพร่กระจายครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางทั่วประเทศ โดยรัฐบาลประกาศยอมรับอย่างเป็นทางการ และออกนโยบาย/มาตรการในการควบคุม จำกัดการระบาดของโรคอย่างจริงตั้งแต่ต้นปี 2547 โดยตั้งเป้าที่จะควบคุมโรคให้ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว และป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการส่งออกของประเทศ (2) ผลกระทบที่เกิดขึ้น ผลกระทบทางการเมือง คือ การสูญเสียความเชื่อมั่นและไว้วางใจทางการเมืองที่ประชาชนมีต่อรัฐบาล จากการที่รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลล่าช้าตลอดจนมีการทุจริตการจ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรและผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจ คือ เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาทจากส่งออก (เนื้อไก่) ที่ลดลง กับทั้งต้องสูญเสียเงินงบประมาณเพื่อการชดเชยให้กับเกษตรกรที่ต้องทำลายไก่อีกเป็นจำนวนมาก ขณะที่ผลกระทบด้านสังคม คือ เกิดผลกระทบต่อวิถีการผลิต วิถีชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดกับผู้เลี้ยงสัตว์ปีกสวยงามชนิดต่างๆ ที่ต้องทำลายสัตว์ปีกหายาก อีกทั้งการระบาดของโรคยังทำให้มีผู้เสียชีวิตด้วย (3) ปัญหาอุปสรรค คือ นโยบายที่มีความไม่ชัดเจน ทำให้การดำเนินนโยบายต้องเผชิญกับการต่อต้านจากเกษตรกร และประชาชนบางส่วนที่ไม่ยอมทำให้ทำลายสัตว์ เพราะเห็นว่าได้รับค่าชดเชยไม่คุ้มค่าบ้าง หรือบางรายทำลายผิดวิธีเพราะกลัวมีความผิดบ้างทำให้การระบาดของโรคยิ่งขยายวงกว้างออกไป ดังนั้นข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น กรมปศุสัตว์ จะต้องมีการกำหนดมาตรการการควบคุมโรค การกำจัดสัตว์ปีก ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ต้องมีการให้ความรู้ที่ถูกต้องสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ อีกทั้งต้องมีการชดเชยที่ชัดเจนและเปิดเผยโปร่งใส ขณะที่นโยบายเกี่ยวกับมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ ที่จะนำมาใช้ ก็ควรได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้วยการรับฟังข้อมูล การรับฟังข้อเรียกร้องจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง นอกจากนี้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทุกส่วนจะต้องให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทั่วถึง และรวดเร็วแก่ประชาชนด้วยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectโรคไข้หวัดนก--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.titleนโยบายมาตรการการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกth_TH
dc.title.alternativePolicy measures to tackle the spread of avian influenzaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
125585.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons