กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10313
ชื่อเรื่อง: นโยบายมาตรการการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Policy measures to tackle the spread of avian influenza
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุมพล หนิมพานิช, อาจารย์ที่ปรึกษา
สายัณห์ วสุธาสวัสดิ์, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรคไข้หวัดนก--การป้องกันและควบคุม
การศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สาเหตุที่มาของนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก (2) ผลกระทบทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากการใช้นโยบายและมาตรการการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก (3) ปัญหาอุปสรรค และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากนโยบายและมาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ผลการวิจัยพบว่า (1) นโยบายและมาตรการการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนกในระหว่าง พ.ศ. 2547-2548 เกิดขึ้นเพื่อควบคุมการระบาดของโรคที่ได้แพร่กระจายครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางทั่วประเทศ โดยรัฐบาลประกาศยอมรับอย่างเป็นทางการ และออกนโยบาย/มาตรการในการควบคุม จำกัดการระบาดของโรคอย่างจริงตั้งแต่ต้นปี 2547 โดยตั้งเป้าที่จะควบคุมโรคให้ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว และป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการส่งออกของประเทศ (2) ผลกระทบที่เกิดขึ้น ผลกระทบทางการเมือง คือ การสูญเสียความเชื่อมั่นและไว้วางใจทางการเมืองที่ประชาชนมีต่อรัฐบาล จากการที่รัฐบาลเปิดเผยข้อมูลล่าช้าตลอดจนมีการทุจริตการจ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรและผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจ คือ เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านบาทจากส่งออก (เนื้อไก่) ที่ลดลง กับทั้งต้องสูญเสียเงินงบประมาณเพื่อการชดเชยให้กับเกษตรกรที่ต้องทำลายไก่อีกเป็นจำนวนมาก ขณะที่ผลกระทบด้านสังคม คือ เกิดผลกระทบต่อวิถีการผลิต วิถีชีวิตของชุมชน โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดกับผู้เลี้ยงสัตว์ปีกสวยงามชนิดต่างๆ ที่ต้องทำลายสัตว์ปีกหายาก อีกทั้งการระบาดของโรคยังทำให้มีผู้เสียชีวิตด้วย (3) ปัญหาอุปสรรค คือ นโยบายที่มีความไม่ชัดเจน ทำให้การดำเนินนโยบายต้องเผชิญกับการต่อต้านจากเกษตรกร และประชาชนบางส่วนที่ไม่ยอมทำให้ทำลายสัตว์ เพราะเห็นว่าได้รับค่าชดเชยไม่คุ้มค่าบ้าง หรือบางรายทำลายผิดวิธีเพราะกลัวมีความผิดบ้างทำให้การระบาดของโรคยิ่งขยายวงกว้างออกไป ดังนั้นข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น กรมปศุสัตว์ จะต้องมีการกำหนดมาตรการการควบคุมโรค การกำจัดสัตว์ปีก ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ต้องมีการให้ความรู้ที่ถูกต้องสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ อีกทั้งต้องมีการชดเชยที่ชัดเจนและเปิดเผยโปร่งใส ขณะที่นโยบายเกี่ยวกับมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ ที่จะนำมาใช้ ก็ควรได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้วยการรับฟังข้อมูล การรับฟังข้อเรียกร้องจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง นอกจากนี้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องทุกส่วนจะต้องให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทั่วถึง และรวดเร็วแก่ประชาชนด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10313
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
125585.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons