กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1032
ชื่อเรื่อง: | ภาพลักษณ์หญิงไทยในวรรณกรรมที่ได้รับรางวัลซีไรต์ของนักเขียนหญิง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Image of Thai women in literature by female S.E.A. Write Award winness |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล เพชรินทร์ นาทศรีทา, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปรียา หิรัญประดิษฐ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ รางวัลซีไรต์ วรรณกรรมไทย--รางวัล ไทย--วรรณกรรม--รางวัล |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาพลักษณ์ของหญิงไทยในวรรณกรรมที่ได้รับรางวัลซีไรต์ของนักเขียนหญิง และ (2) กลวิธีการใช้ภาษาในวรรณกรรมที่ได้รับรางวัลซีไรต์ของนักเขียนหญิง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากวรรณกรรมที่ได้รับรางวัลซีไรต์ของนักเขียนหญิง 5 เรื่อง ได้แก่ ปูนปิดทอง ใบไม้ที่หายไป อัญมณีแห่งชีวิต ช่างสำราญ และความสุขของกะทิ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าภาพลักษณ์ของหญิงไทยในวรรณกรรมที่ได้รับรางวัลซีไรต์ของนักเขียนหญิงจำแนกได้ 4 ด้าน คือ 1) ด้านบุคลิกภาพ แบ่งเป็นบุคลิกลักษณะภายนอกและลักษณะนิสัย บุคลิกลักษณะ ภายนอกของผู้หญิงก่อนแต่งงานส่วนมากจะมีรูปร่างหน้าตาสวยและมีลักษณะดึงดูดใจ ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะมีลักษณะภายนอกเปลี่ยนแปลงไปตามวัย ในด้านลักษณะนิสัย พบว่าผู้หญิงมีลักษณะของหญิงไทยสมัยเก่า ผู้หญิงที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง และผู้หญิงมีความคิดแบบหัวสมัยใหม่ 2) ความสัมพันธ์กับบุคคลและสังคมแบ่งเป็นความสัมพันธ์ของหญิงไทยกับบุคคลในครอบครัว และความสัมพันธ์ของหญิงไทยกับบุคคลในสังคมโดยความสัมพันธ์ของหญิงไทยกับบุคคลในครอบครัวมีทั้งความสัมพันธ์ที่ดีมีความสุข และความสัมพันธ์ในทางไม่ดี แตกร้าว ส่วนความสัมพันธ์ของหญิงไทยกับบุคคลในสังคม พบว่ามีความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนความสัมพันธ์ในฐานะคนรัก และความสัมพันธ์ในฐานะผู้ร่วมงาน 3) ด้านแนวทางในการดำเนินชีวิต ภาพลักษณ์หญิงไทยมีแนวทางในการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย ปฏิบัติตามคำสอนทางศาสนา และรับวัฒนธรรมตะวันตกเป็นแบบในการดำเนินชีวิต 4) ด้านสถานภาพและบทบาท พบผู้หญิงในฐานะบุตรี ฐานะภรรยา และฐานะมารดา สำหรับกลวิธีการใช้ภาษาสื่อภาพลักษณ์ของผู้หญิงพบการใช้คำ 7 ลักษณะ คือ คำสุภาพ คำไม่สุภาพ คำแสดงอารมณ์ความรู้สึก คำหลาก คำซ้อน คำซ้ า และคำภาษาต่างประเทศ ในส่วนของโวหารภาพพจน์ที่สื่อ ภาพลักษณ์ของผู้หญิง พบการใช้โวหารภาพพจน์ 4 ลักษณะ คือ ภาพพจน์แบบอุปมา อุปลักษณ์ สัญลักษณ์และ การกล่าวเท้าความ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1032 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Arts-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext (12).pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License