Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10333
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์th_TH
dc.contributor.authorสายฝน จุมสุวรรณ์, 2519-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-06T08:32:41Z-
dc.date.available2023-11-06T08:32:41Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10333en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัย รูปแบบและวิธีการแทรกแซงทางการเมืองโดยการทำรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) และปัจจัย รูปแบบและวิธีการแทรกแซงทางการเมืองโดยการทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) (2) เปรียบเทียบปัจจัย รูปแบบและวิธีการแทรกแซงทางการเมืองโดยการทำรัฐประหาร ระหว่าง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) (3) ผลกระทบจากการทำรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) และการทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วิธีดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาข้อมูลจากตำรา เอกสาร งานวิจัยและวารสารที่เกี่ยวข้อง และการ สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 9 กลุ่มได้แก่ กลุ่มนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองไทย กลุ่มนักการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง กลุ่มภาคประชาสังคม กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มสื่อสารมวลชน กลุ่มทหาร กลุ่มตำรวจ และกลุ่มข้าราชการพลเรือน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า (1) การทำรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ปัจจัยภายในมาจากผลประโยชน์ของกองทัพถูกกระทบกระเทือน ปัจจัยภายนอกมาจากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้ รัฐบาลมีความเปราะบาง นักการเมืองขาดความชอบธรรม รูปแบบและวิธีการแทรกแซงทางการเมือง จะใช้อิทธิพลกดตันนโยบายและการตัดสินใจของรัฐบาล การขู่ว่าจะใช้กำลัง ยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทั้งชุด ส่วนการทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปัจจัยภายนอกมาจากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้ รัฐบาลมีความเปราะบาง นักการเมืองขาดความชอบธรรม รูปแบบและวิธีการแทรกแซงทางการเมืองจะใช้อิทธิพลกดดันนโยบายและการตัดสินใจของรัฐบาล การขู่ว่าจะใช้กำลัง การยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทั้งชุด (2) การทำรัฐประหารของ คปค. เกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกกองทัพ การทำรัฐประหารของ คสช. เกิดจากปัจจัย ภายนอกกองทัพปัจจัยเดียว ส่วนรูปแบบและวิธีการแทรกแซงทางการเมืองมีรูปแบบและวิธีการแทรกแซงทางการเมืองเหมือนกัน (3) การทำรัฐประหารของ คปค. และ คสช. ส่งผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการต่างประเทศth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขth_TH
dc.subjectคณะรักษาความสงบแห่งชาติth_TH
dc.subjectทหาร--กิจกรรมทางการเมืองth_TH
dc.subjectรัฐประหาร--ไทยth_TH
dc.subjectการปฏิรูปการเมือง--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองth_TH
dc.subjectไทย--การเมืองและการปกครองth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.titleการแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย : ศึกษาเปรียบเทียบการรัฐประหารระหว่างคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)th_TH
dc.title.alternativeMilitary intervention in Thai politics : comparative study coup d'état between Council for Democratic Reform (CDR) with National Council for Peace and Order (NCPO)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study (1) factors, patterns, and the methods involving the political inference of the coup staged by Council for Democratic Reform (CDR) and National Council for Peace and Order (NCPO); (2) the comparison of the above findings and; (3) the effects of the coup staged by Council for Democratic Reform (CDR) and National council for peace and order (NCPO) This study is documentary qualitative research with data gathering from textbook, research document and journal, and the interview of 9 sample groups which comprised of the academy expert on Thai political, the politicians, the political beneficiary, the society, the business sector, the journalist, the military, the police, and the government officials. The resulting information will be analyzed by using the descriptive research. The major findings of this research are (1) the internal factor of the coup staged by Council for Democratic Reform (CDR) involves the affected benefit of Thai military while the external factor includes the ineffectiveness of government in dealing with country issues, the political instability, and illegitimate politician. The external factor of the coup staged by National council for peace and order (NCPO) involves the ineffectiveness of government in dealing with country issues, the political instability, and illegitimate politician. As for the pattern and procedure of the political interference, both coups used influential pressure on the policy and decision of the government, the threat of use of force, the power seizure and the dismantling of the entire cabinet. (2) The coup staged by Council for Democratic Reform (CDR) originated from both military internal and external factors whereas the coup staged by National council for peace and order (NCPO) only originated from external factors. The pattern and method involving the political interference of both coup are the same. (3) The coup staged by Council for Democratic Reform (CDR) and National council for peace and order (NCPO) affected the politic, economic, social and international relationship of Thailand.en_US
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158630.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.9 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons