กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10333
ชื่อเรื่อง: การแทรกแซงทางการเมืองของทหารไทย : ศึกษาเปรียบเทียบการรัฐประหารระหว่างคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Military intervention in Thai politics : comparative study coup d'état between Council for Democratic Reform (CDR) with National Council for Peace and Order (NCPO)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สายฝน จุมสุวรรณ์, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ทหาร--กิจกรรมทางการเมือง
รัฐประหาร--ไทย
การปฏิรูปการเมือง--ไทย
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
ไทย--การเมืองและการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัย รูปแบบและวิธีการแทรกแซงทางการเมืองโดย การทำรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) และปัจจัย รูปแบบและวิธีการแทรกแซงทางการเมืองโดยการทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ (คสช.) (2) เปรียบเทียบปัจจัย รูปแบบและวิธีการแทรกแซงทางการเมืองโดยการทำรัฐประหาร ระหว่าง คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) กับคณะรักษา ความสงบแห่งชิต (คสช.) (3) ผลกระทบจากการทำรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิป ไดยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) และการทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วิธีดำเนินการวิจัยด้วยการศึกษาข้อมูลจากตำรา เอกสาร งานวิจัยและวารสารที่เกี่ยวข้อง และการ สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 9 กลุ่มได้แก่ กลุ่มนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองไทย กลุ่มนักการเมือง กลุ่ม ผลประโยชน์ทางการเมือง กลุ่มภาคประชาสังคม กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มสื่อสารมวลชน กลุ่มทหาร กลุ่มตำรวจ และ กลุ่มข้าราชการพลเรือน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยการบรรยายเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า (1) การทำรัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ปัจจัยภายในมาจากผลประโยชน์ของกองทัพถูกกระทบกระเทือน ปัจจัยภายนอกมาจากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้ รัฐบาลมีความเปราะบาง นักการเมืองขาด ความชอบธรรม รูปแบบและวิธีการแทรกแซงทางการเมือง จะใช้อิทธิพลกดตันนโยบายและการตัดสินใจของ รัฐบาล การขู่ว่าจะใช้กำลัง ยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทั้งชุด ส่วนการทำรัฐประหารของคณะรักษาความ สงบแห่งชาติ (คสช.) ปัจจัยภายนอกมาจากรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้ รัฐบาลมีความ เปราะบาง นักการเมืองขาดความชอบธรรม รูปแบบและวิธีการแทรกแซงทางการเมืองจะใช้อิทธิพลกดดัน นโยบายและการตัดสินใจของรัฐบาล การขู่ว่าจะใช้กำลัง การยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทั้งชุด (2) การทำ รัฐประหารของ คปค. เกิดจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกกองทัพ การทำรัฐประหารของ คสช. เกิดจากปัจจัย ภายนอกกองทัพปัจจัยเดียว ส่วนรูปแบบและวิธีการแทรกแซงทางการเมืองมีรูปแบบและวิธีการแทรกแซงทาง การเมืองเหมือนกัน (3) การทำรัฐประหารของ คปค. และ คสช. ส่งผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ การต่างประเทศ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10333
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
158630.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons