Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10350
Title: | บทบาทคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภคประจำวุฒิสภาในการดำเนินการเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานครตั้งแต่การเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 |
Other Titles: | Roles of committee on human rights and freedom, and consumer protection in the senate about the violence situation caused by political gatherings in Bangkok since the election on December 23, 2550 |
Authors: | รสลิน ศิริยะพันธุ์ สุมัทนา คลังแสง, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน ความรุนแรงทางการเมือง--ไทย การศึกษาอิสระ--รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาท คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภควุฒิสภา ในการดำเนินการเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่การเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 (2) ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินบทบาทของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภควุฒิสภาในการดำเนินการเกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดจากการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่การเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร ข้อมูล การสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ จำนวน 2 คน และผู้ที่มีบทบาทด้านสิทธิมนุษยชนจำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างโดยนำข้อมูลจากการศึกษาทั้งหมดมานำเสนอในลักษณะการวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า (1) คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ ดำเนินบทบาท คือ พิจารณาศึกษารวบรวมข้อมูลและข้อเท็จจริง พิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อหามาตรการหรือแนวทางการแก้ไขปัญหารวมทั้งติดตามความคืบหน้าในกระบวนการยุติธรรม โดยเรียกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงแสดงความคิดเห็น ประสานความร่วมมือกับภาครัฐและกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง รายงานผลสรุป เป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยสถานการณ์ฯ รายงานผลสรุป และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความรุนแรงฯ (2) ปัญหา อุปสรรคในการดำเนินบทบาท คือ ข้อกำหนดด้านกฎหมาย อำนาจหน้าที่ตามระบบการปฏิบัติงานในการเชื่อมโยงเครือข่ายกับกระทรวงต่างๆ ความแตกแยกภายในสมาชิกวุฒิสภาปัญหาที่เกิดจากคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนฯ ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และการขาดความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10350 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
125273.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License