Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10370
Title: | บทบาทการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองของครูให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Role of teachers in the political training and socialization of upper secondary school students in Chian Yai District, Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | เสนีย์ คำสุข อมร สดศรี, 2501- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การเมือง--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) การเมืองกับการศึกษา เยาวชน--กิจกรรมทางการเมือง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา(1) บทบาทของครูในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอาเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ปัญหาอุปสรรคในการแสดงบทบาทของครูในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอาเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกลุ่มเป้าหมายคือ ครูที่ทำการสอนในสาระสังคมศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในเขตอำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทของครูในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองให้กับนักเรียน พบว่าครูมีสองบทบาทหลักคือบทบาทในฐานะเป็นผู้สอนตามหลักสูตรที่โรงเรียนกำหนด ซึ่งครูส่วนใหญ่จะใช้วิธีสอนที่หลากหลายมีทั้งการบรรยาย แบ่งกลุ่มนักเรียนไปค้นคว้าและการตั้งคำถามให้อภิปราย อีกบทบาทหนึ่งคือการกระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมและเรียนรู้ทางการเมืองโดยมีการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน ในส่วนของการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน และการกำหนดเวลาเรียนนั้น พบว่า หลักสูตรสถานศึกษาที่กำหนดไว้ทั้งหมดไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ครูผู้สอนและนักเรียนได้ร่วมตัดสินใจและครูขาดความรู้และความเข้าใจทางการเมือง (2) ปัญหาและอุปสรรคในการแสดงบทบาทของครู พบว่าครูและนักเรียนยังขาดองค์ความรู้ด้านการเมืองการปกครอง การขาดแคลนสื่อนักเรียนไม่สนใจการเมือง ครูส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการบรรยายในสอนการเมือง ส่วนปัญหาอุปสรรคของการกำหนดเวลาเรียนพบว่าการเรียนการเมืองการปกครองมีเวลาน้อย การกำหนดเป้าหมายของการเรียนก็ถูกกำหนดโดยหลักสูตรทั้งหมด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10370 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
142850.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License