Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10373
Title: บทบาทภาคประชาสังคมในการกำกับตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
Other Titles: Role of civil society in the governance of the local government evaluation: a case study of Tampon Ban Yang Sao Hai District, Saraburi Province
Authors: ยุทธพร อิสรชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทิสาปาโมกข์ ปรึกษากิ่ง, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --การศึกษาเฉพาะกรณี
ประชาสังคม
การตรวจสอบการจัดการ
องค์การบริหารส่วนตำบล--การบริหาร--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงบทบาทภาคประชาสังคมในการกำกับตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และปัญหาอุปสรรคของภาคประชาสังคมในองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรีในการกำกับตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวมทั้งเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคมในการกำกับตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า(1)บทบาทภาคประชาสังคมในการกำกับตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคประชาสังคมไม่ได้มีบทบาทในการกำกับตรวจสอบอย่างแท้จริงเพราะโอกาสที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆขององค์การบริหารส่วนตำบลไม่เอื้อต่อการเข้าไปทำหน้าที่ของภาคประชาสังคมเพราะการรวมตัวกันในการที่จะทำหน้าที่กำกับตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกลดความสำคัญต่อการบริหารงานและการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นโดยสิ้นเชิง(2)ปัญหาอุปสรรคของภาคประชาสังคมในการกำกับตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคประชาสังคมและประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทการกำกับตรวจสอบองค์การบริหารส่วนตำบลและยังเห็นว่าการเข้ามาทำหน้าที่ในการกำกับตรวจสอบไม่ใช่หน้าที่ของตนเองแต่เป็นหน้าที่ของรัฐ ท้องถิ่นยังไม่เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมและภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นรวมทั้งตัวของภาคประชาสังคมยังไม่ชัดเจนกระจัดกระจายกันอยู่เป็นกลุ่มๆจึงไม่สามารถที่จะทำหน้าที่ในการกำกับตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน(3)เสนอแนะแนวทางส่งเสริมบทบาทภาคประชาสังคมในการกำกับตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องถิ่นควรเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกระบวนการการทำงานของท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความตระหนักในสิทธิหน้าที่และความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคมท้องถิ่นของตนเองต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10373
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143418.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons