Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10400
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์th_TH
dc.contributor.authorจีระพล จรจันทร์, 2515-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-13T02:00:49Z-
dc.date.available2023-11-13T02:00:49Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10400en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ในช่วงปี พ.ศ.2555 - 2559 (2) ปัจจัยที่สนับสนุนในการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ (3) ข้อเสนอแนะและแนวทางการสร้างกลยุทธ์ทางการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น อันจะส่งผลสู่ปัจจัยแห่งความสำเร็จทางการเมืองของนักการเมืองในเขตพื้นที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประชากรวิจัยได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มที่ 2 ประชาชนในพื้นที่อำเภอเด่นชัย กลุ่มตัวอย่าง การวิจัยเชิงปริมาณเลือกโดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน จำนวน 380 คน กลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงคุณภาพเลือกแบบใช้วิธีคัดเลือกเฉพาะเจาะจง จำนวน 19 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง พรรณาและใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นคือ การออกพบปะประชาชนตามโอกาสต่างๆ งานประเพณีที่สำคัญของชุมชน การอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการพบปะกับประชาชน การอาสาเป็นตัวแทนนัดหมายประชาชนจัดกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน การร่วมประชุมประชาคมหมู่บ้าน การกระจายข่าวสารต่างๆ ผ่านหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆของส่วนราชการ (2) ปัจจัยที่สนับสนุนในการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ได้แก่ นักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเด่นชัยส่วนใหญ่ ใช้ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติเป็นโอกาสและตัวประสานในการสร้างความสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างการสื่อสารทางการเมือง ใช้ประโยชน์จากการออกงานสังคมไม่ว่าจะเป็นงานมงคลงานอวมงคล ร่วมกิจกรรมต่างๆ กับประชาชน การร่วมงานต่างๆ กับชุมชนเสมอ ทำให้เป็นที่รู้จักของประชาชนในพื้นที่ สามารถติดต่อสื่อสารกับประชาชนได้ง่ายขึ้น การลงช่วยงานของชุมชนหรืองานของประชาชนนอกเวลาราชการ โดยใช้ทั้งกำลังแรงกายและกำลังทุนทรัพย์ การรู้จักและมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับสื่อหรือตัวแทนของสื่อ (3) ข้อเสนอแนะ คือ นักการเมืองท้องถิ่นควรลดอคติในเรื่องความขัดแย้ง การแบ่งพรรคพวก การให้ความช่วยเหลือบริการแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน การสร้างกลยุทธ์ทางการเมืองด้วยการเข้าถึงประชาชน ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ รู้แนวทาง รู้สถานการณ์และรู้วิธีในการปฏิบัติ ให้ประชาชนยึดแนวทางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และผู้บริหารต้องบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการสื่อสารทางการเมือง--ไทย--แพร่th_TH
dc.subjectนักการเมือง--ไทย--แพร่th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่นth_TH
dc.titleกลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น : กรณีศึกษาอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ในช่วงปี พ.ศ. 2555-2559th_TH
dc.title.alternativePolitical communication strategy of persons holding local political positions : a case study of Den chai District, Phrae Province from 2012 to 2016en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are (1) to study the political communication strategy of persons holding local political positions: A case study of Den Chai district, Phrae province from 2012 to 2016, (2) to investigate factors supporting the political communication in Den Chai district, Phrae province, and (3) to propose the guideline of the effective and successful political communication strategy in Den Chai district, Phrae province. The quantitative approach and qualitative approach were used to apply in this research. The research population included two groups: officers of local administration and people in Den Chai district. The sample number of quantitative research was 380 which determined by the study of Krecie and Morgan. The sample number of qualitative research was 19 which obtained by the purposive sampling technique. The research instruments for data collection were questionnaire and interview. Then, the data were analyzed using a content analysis method, a descriptive analysis method and statistical methods (frequency, percentage and standard deviation). This research found that (1) the political communication strategies of local politicians were meeting with people in the traditional event, facilitating communications, involving in village development activities and village forum community, developing local village broadcasting towers and using public relations through government agencies. (2) The factors effecting the political communication of local politicians were a relative relationship and public relation. The local politicians participated in the social event in order to create the political communication and let the local people communicating with them. (3) The guideline of political communication strategy are proving the equal service to local people and creating the strategies to access the people. The good political leaders should have knowledge (updated situation and sufficiency economy) and good governance.en_US
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154882.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons