Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10400
Title: กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น : กรณีศึกษาอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ในช่วงปี พ.ศ. 2555-2559
Other Titles: Political communication strategy of persons holding local political positions : a case study of Den chai District, Phrae Province from 2012 to 2016
Authors: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จีระพล จรจันทร์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --การศึกษาเฉพาะกรณี
การสื่อสารทางการเมือง--ไทย--แพร่
นักการเมือง--ไทย--แพร่
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ในช่วงปี พ.ศ.2555 - 2559 (2) ปัจจัยที่สนับสนุนในการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ (3) ข้อเสนอแนะและแนวทางการสร้างกลยุทธ์ทางการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น อันจะส่งผลสู่ปัจจัยแห่งความสำเร็จทางการเมืองของนักการเมืองในเขตพื้นที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่นคือ การออกพบปะประชาชนตามโอกาสต่างๆ งานประเพณีที่สำคัญของชุมชน การอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการพบปะกับประชาชน การอาสาเป็นตัวแทนนัดหมายประชาชนจัดกิจกรรมการพัฒนาหมู่บ้าน การร่วมประชุมประชาคมหมู่บ้าน การกระจายข่าวสารต่างๆ ผ่านหอกระจายข่าวของหมู่บ้าน การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆของส่วนราชการ (2) ปัจจัยที่สนับสนุนในการสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ได้แก่ นักการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเด่นชัยส่วนใหญ่ ใช้ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติเป็นโอกาสและตัวประสานในการสร้างความสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างการสื่อสารทางการเมือง ใช้ประโยชน์จากการออกงานสังคมไม่ว่าจะเป็นงานมงคลงานอวมงคล ร่วมกิจกรรมต่างๆ กับประชาชน การร่วมงานต่างๆ กับชุมชนเสมอ ทำให้เป็นที่รู้จักของประชาชนในพื้นที่ สามารถติดต่อสื่อสารกับประชาชนได้ง่ายขึ้น การลงช่วยงานของชุมชนหรืองานของประชาชนนอกเวลาราชการ โดยใช้ทั้งกำลังแรงกายและกำลังทุนทรัพย์ การรู้จักและมีความใกล้ชิดสนิทสนมกับสื่อหรือตัวแทนของสื่อ (3) ข้อเสนอแนะ คือ นักการเมืองท้องถิ่นควรลดอคติในเรื่องความขัดแย้ง การแบ่งพรรคพวก การให้ความช่วยเหลือบริการแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน การสร้างกลยุทธ์ทางการเมืองด้วยการเข้าถึงประชาชน ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ รู้แนวทาง รู้สถานการณ์และรู้วิธีในการปฏิบัติ ให้ประชาชนยึดแนวทางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และผู้บริหารต้องบริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10400
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154882.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons