กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10401
ชื่อเรื่อง: | การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษาเปรียบเทียบตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Election for member of the House of Representatives : a comparative study of the Constitution B.E.2540 and B.E.2550 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสนีย์ คำสุข โอภาส ไชยกุล, 2505- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร--การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ--ไทย รัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระบบ และกระบวนการที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เปรียบเทียบระหว่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เปรียบเทียบระหว่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาของการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ หนังสือสั่งการ ข้อมูล และรายงานที่เกี่ยวข้อง โดยการทำแบบเก็บข้อมูลจากเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า (1) ทั้งระบบและกระบวนการที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งจากการเปรียบเทียบระหว่างรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ มีความแตกต่างกันดังนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 เป็นระบบเลือกตั้งแบบผสม คือ เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 400 คน (เป็นแบบ one man one vote) และ แบบบัญชีรายชื่อ 100 คน แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ยังเป็นระบบการเลือกตั้งแบบผสม แต่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็น 480 คน โดยมีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน ในแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นแบบ "แบ่งเขตเรียงเบอร์" 400 คน (ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสามารถกาบัตรเลือกผู้สมัครได้เท่าจำนวนผู้แทนในเขตของตัวเอง) การเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งนี้เป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาจากการเลือกตั้ง (2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยังมีปัญหาและอุปสรรคต่างๆ เช่น ปัญหาขององค์กรอิสระที่มักถูกมองว่าไม่มีความเป็นกลาง และปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียง (3) จากการศึกษานี้ได้มีข้อเสนอคือ ให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองคือ ต้องให้เกิดการกระจายอำนาจเพื่อให้ประชาชนได้มีบทบาททางการเมืองเพิ่มขึ้น ประชาชนสามารถตรวจสอบข้าราชการและนักการเมืองได้สิ่งเหล่านี้จะส่งผลประชาชนมีสำนึกถึงผลประโยชน์ของตนเองมากขึ้นเป็นการแก้ไขทั้งตัวระบบและตัวคน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10401 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
158629.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.7 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License