กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10402
ชื่อเรื่อง: ค่านิยม 12 ประการกับการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลพุนพิน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Twelve Core Values and local political development in Phunphin Subdistrict, Phunphin District, Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาภรณ์ อินทรจันทร์, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง --การศึกษาเฉพาะกรณี
การพัฒนาทางการเมือง
จริยธรรมการเมือง--ไทย
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ค่านิยม 12 ประการของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลพุนพิน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) การนำค่านิยม 12 ประการไปใช้ในการพัฒนาการเมืองท้องถื่นในพื้นที่ตำบลพุนพิน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า (1) ค่านิยม ความกตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ เป็นค่านิยม 12 ประการที่ ประชาชนให้ความยึดถือและปฏิบัติ มากที่สุด รองลงมาคือ รู้จักดำรงตนอยู่ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ตามลำดับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ประชาชนในพื้นที่ตำบลพุนพิน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการยึดถือและมีการนำค่านิยม 12 ประการไปปฏิบัติซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปริมาณ และพบว่า ค่านิยม 12 ประการ ประชาชนในพื้นที่มีการนำมาใช้อยู่ก่อนแล้ว ด้วยยอมรับอยู่ในวิถีชีวิตแห่งคุณธรรมที่ส่งเสริมในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะความกตัญญต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ (2) การปฏิบัติตนของประชาชนตามค่านิยม 12 ประการ สามารถใช้ในการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นในตำบลพุนพิน อำเภอพุนพินจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในด้านต่าง ๆ คือ การพัฒนาด้านวัฒนธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ค่านิยมเรื่องการเรียนรู้ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน และการมีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การพัฒนาด้านความเสมอภาค โดยใช้ค่านิยมเรื่องการเรียนรู้ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ด้านความเสมอภาค โดยใช้ค่านิยมการเรียนรู้ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และการคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนร่วมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง ด้านความสามารถของระบบการเมือง และด้านโครงสร้างทางการเมือง ใช้ค่านิยมเรื่องการใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรงและทางอ้อม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10402
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159157.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons