กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10403
ชื่อเรื่อง: | การบังคับใช้กฎหมายของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราชกับหลักการสิทธิมนุษยชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Human rights principles in law enforcement by police officers at Tha Sala Police Station, Nakhon Si Thammarat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรวลัญช์ โรจนพล เอกพงค์ คงนวน, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี สิทธิมนุษยชน ข้าราชการตำรวจ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะการบังคับใช้กฎหมายของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กับหลักการสิทธิมนุษยชน (2) ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราชกับหลักการสิทธิมนุษยชน (3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายกับหลักการสิทธิมนุษยชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จํานวน 15 คน เครื่องมือ ที่ใช้ ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า (1) ลักษณะการบังคับใช้กฎหมายแต่ละด้านของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรท่าศาลาจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ดังนี้ ด้านการจับกุมมีการปฏิบัติหน้าที่บังคับใช้กฎหมายภายใต้อำนาจของกฎหมาย ยึดถือกฎหมายโดยเคร่งครัด สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้านการค้นดำเนินการค้นแบบแสดงตัวทุกครั้งสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนด้านความสากล ด้านการควบคุมมีการยึดถือกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน ด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และด้านการใช้กำลังอาวุธและเครื่องมือยึดหลักความเป็นสากล ตรวจสอบได้และใช้หลักนิติธรรมปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดหลักกฎหมายสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนด้านตรวจสอบได้และใช้หลักนิติธรรม (2) ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจภูธรท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า 2.1) เจ้าหน้าที่ตำรวจบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชนในการ สืบค้นหาพยานหลักฐานและปกป้องผู้เสียหายรวมทั้งผลประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติ 2.2) ตำรวจมีการเลือกปฏิบัติและมีการเกรงกลัวต่ออิทธิพลบางกลุ่ม 2.3) ข้าราชการตำรวจบางส่วนยังขาดความเข้าใจกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญาในเรื่องการปฏิบัติเมื่อจับกุมผู้ต้องหา 2.4) ขาดอุปกรณ์เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ นำไปใช้ในการสืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน (3) ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา 3.1) ส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการตำรวจมีโอกาสศึกษาบทบัญญัติกฎหมายเพิ่มเติม โดยการให้เข้าศึกษาต่อ ในวิชานิติศาสตร์การอบรมสัมมนาหลักการสิทธิมนุษยชนในหลักสูตรการเรียนการสอนของข้าราชการตำรวจ 3.2) ผู้บังคับบัญชาและภาคส่วนต่างๆ ตรวจสอบและกำกับข้าราชการตำรวจให้ทำหน้าที่ด้วยความรอบคอบ โดย ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อประชาชนด้วยความเสมอภาคเท่าเทียมกันและตระหนักในสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมถึงผู้ต้องหา 3.3) ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ยึดโยงกับระบบอุปถัมภ์ และไม่หวั่นเกรงต่อผู้มีอิทธิพล |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10403 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
159565.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 21.45 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License