Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10406
Title: | การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการจัดการขยะของเทศบาลตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี |
Other Titles: | Involvement of the private sector in waste management of Naphralan Municipality, Chaloem Phra Kiat District, Saraburi Province |
Authors: | ยุทธพร อิสรชัย สมฤดี จันทร์สุวรรณ, 2502- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี ขยะ--การจัดการ--ไทย--สระบุรี--การมีส่วนร่วมของประชาชน. |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของภาคประชาชนในการจัดการขยะร่วมกับเทศบาลตำบลหน้าพระลาน (2) เสนอแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกจาก ประชากร/กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประธานชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหน้าพระลาน จำนวน 5 คน กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 4 คนและอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน จำนวน 5 คน ใช้แบบการ สัมภาษณ์เจาะลึกเป็นเครื่องมือการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนาแบบสรุปอุปนัยผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. ภาคประชาชนมีบทบาทในการจัดการขยะร่วมกับเทศบาล ตำบลหน้าพระลาน อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรีใน 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างทัศนคติ/ค่านิยม 2) การมีส่วนร่วมจัดการขยะของชุมชน และ 3) การให้ความร่วมมือกับเทศบาลในการจัดการขยะ ทั้งนี้แนวโน้มของระดับการมีส่วนร่วมภาคประชาชนขึ้นอยู่กับความแตกต่างของ เพศอายุ ตำแหน่งทางสังคม ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งทางสังคมและ รายได้ การยอมรับทางสังคมกระแสการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา การสนับสนุนของส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ 2. แนวทางการส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเทศบาลตำบลหน้าพระลานควรกำหนดกรอบนโยบายที่ชัดเจนและต่อเนื่องที่จะส่งเสริมให้ภาคประชาชนเกิดความเข้มแข็ง มีความพร้อมและเล็งเห็นความสำคัญแนวคิดกับ "กระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน" ในการจัดการขยะชุมชนทุกขั้นตอน ประกอบด้วย ร่วมค้นหาปัญหา ร่วมวางแผนดำเนินการ ร่วมลงทุนและปฏิบัติงาน ตลอดจนร่วมติดตามประเมินผล ในบริบทของ "ภาคประชาสังคม" อย่างสมดุล พร้อมทั้งยกระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการจัดการขยะ ร่วมกับเทศบาลตำบลหน้าพระลานไปสู่ "พหุสังคม" และพัฒนาไปถึงการเป็น "ประชาสังคม" ในที่สุด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10406 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
140207.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License