กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10431
ชื่อเรื่อง: ผู้สูงอายุกับการมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น กรณีศึกษา เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Senior citizens and participation in local government : a case study of Samrong Nuea Municipality, Mueang Samut Prakarn District, Samut Prakarn Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรวลัญช์ โรจนพล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ผุสดี ชินตุ, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น --การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้สูงอายุ--กิจกรรมทางการเมือ
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นของผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ (2) ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุ เทศบาล ตำบลสำโรงเหนือ มีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น (3) ปัญหา อุปสรรคในการมีส่วนร่วมปกครองท้องถิ่นของ ผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ (4) แนวทางในการพัฒนาบทบาทของผู้สูงอายุ ในการมีส่วนร่วมปกครอง ท้องถิ่นเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีส่วนร่วมในการประชาคมเพื่อจัดทำแผนพัฒนา ตั้งแต่ กระบวนการแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ในการลงพื้นที่ของเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของ เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ ในการจัดสถานที่การประชาคมและร่วมนำเสนอปัญหาความต้องการ รวมถึงวิเคราะห์ ถึงสภาพของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาในชุมชน (2) ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุ เทศบาลตำบล สำโรงเหนือ มีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น มี 3 ประการ ผู้สูงอายุให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมทางการ เมืองค่อนข้างสูง เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ เป็นสังคมเมืองที่กลุ่มผู้สูงอายุมีความรู้และให้ความสำคัญกับการ ปกครองท้องถิ่น และผู้สูงอายุทราบถึงความสำคัญของการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (3) ปัญหา อุปสรรคในการมี ส่วนร่วมปกครองท้องถิ่นของผู้สูงอายุ คือ ปัญหาทางด้านการเมืองท้องถิ่นการเล่นพรรคเล่นพวก การไม่แสดง ความคิดเห็น (4) แนวทางในการพัฒนาบทบาทของผู้สูงอายุในการมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น คือ เพิ่ม ช่องทางและเวลาในการประชาสัมพันธ์การจัดประชาคม และมีการอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าในเรื่องการ จัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10431
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161031.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons