Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10433
Title: | การมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชนในพื้นที่จังหวัดสงขลาในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นมรดกโลก |
Other Titles: | Political participation of communities in Songkhla Province in preparation for becoming a World heritage |
Authors: | พิศาล มุกดารัศมี ลลิตภัทร เตโช, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี การมีส่วนร่วมทางการเมือง--ไทย มรดกโลก--ไทย การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบและกระบวนการการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของชุมชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นมรดกโลก (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นมรดกโลก (3) เสนอแนวทางและข้อเสนอแนะในการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของชุมชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ในการ เตรียมความพร้อมเข้าสู่มรดกโลก การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยทางเอกสารและเครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) รูปแบบและกระบวนการการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชน ในพื้นที่จังหวัดสงขลาในการเตรียมความพร้อมในการที่จะเข้าสู่การเป็นมรดกโลก มีรูปแบบและกระบวนการการมีส่วนร่วม 3 ลักษณะ ด้วยกัน ได้แก่ (1.1)รูปแบบและกระบวนการการมีส่วนร่วม ของผู้นำชุมชน (1.2) รูปแบบและกระบวนการการมีส่วนร่วมขององค์กรท้องถิ่น และตัวแทนอื่น ๆ และ (1.3) รูปแบบและกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน (2) ปัญหาและอุปสรรคการมีส่วน ร่วมทางการเมืองของชุมชน การมีส่วนร่วมทางการเมืองของชุมชนในพื้นที่จังหวัดสงขลาในการ เตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นมรดกโลก ปัญหาส่วนใหญ่ที่มีผลต่อด้านการพัฒนารอบด้าน คือ ปัญหาเรื่องของการที่ชุมชนไม่สามารถเข้าถึงการที่จะทำความเข้าใจ ในเรื่องของข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับมรดกโลกที่จะเกิดขึ้น และเรื่องของทัศนคติ ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน (3) แนวทางและ ข้อเสนอแนะ ให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดสงขลาเพื่อเตรียมความพร้อม เข้าสู่การเป็นมรดกโลก คือ เรื่องของการประชาสัมพันธ์ให้เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจง การมีผู้นำหรือผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องมรดกโลกนี้โดยตรง ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีความเป็นภาวะผู้นำอย่างมาก ที่จะสามารถประสานงาน ให้ความรู้ และสามารถเข้าถึงชุมชนได้เป็นอย่างดี และการทำให้ชุมชนมี ความรู้สึกที่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวร่วมกันทั้งกับภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ด้วยกันเอง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10433 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
161945.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License