Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10482
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorน้ำทิพย์ วิภาวินth_TH
dc.contributor.authorคมเดช บุญประเสริฐ, 2513-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-11-15T08:42:02Z-
dc.date.available2023-11-15T08:42:02Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10482en_US
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ศิลปศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการสนับสนุนการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (2) ศึกษาสภาพการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และ (4) พัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ การวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย 4 กลุ่มสาขาวิชาคือ 1) ภาษาและภาษาศาสตร์ 2) วัฒนธรรมและวรรณคดี 3) โบราณคดีและประวัติศาสตร์ 4) ปรัชญา ศาสนาและเทววิทยา รวมจำนวน 374 คน และผู้บริหารห้องสมุด ผู้บริหารคณะและอาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ จำนวน 55 คน จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 9 แห่ง โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์กลยุทธ์ จำนวน 11 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในการทดลองกลยุทธ์ 6 แห่ง จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง สถิติสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการสนับสนุนการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ โดยห้องสมุดมีระบบการจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในคลังสารสนเทศสถาบัน และคณะมีนโยบายให้อาจารย์ผลิตตำราอิเล็กทรอนิกส์ 2) สภาพการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ พบว่าส่วนใหญ่ใช้หนังสือหายากอิเล็กทรอนิกส์ในการทำวิจัยและรายงาน เมื่อเปรียบเทียบการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และกลุ่มสาขาวิชา โดยเพศชายอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งเล่มมากกว่าเพศหญิง เมื่อจำแนกตามอายุพบว่านักศึกษาที่มีอายุต่ำกว่า 26 ปีใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากกว่านักศึกษาที่มีอายุ 26 ปี ขึ้นไป เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาพบว่านักศึกษาระดับปริญญาเอกใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากกว่านักศึกษาระดับปริญญาโท เมื่อจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชาพบว่านักศึกษากลุ่มสาขาวิชาโบราณคดีและประวัติศาสตร์ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มากกว่านักศึกษากลุ่มสาขาวิชาภาษาและภาษาศาสตร์และกลุ่มสาขาวิชาวัฒนธรรม และวรรณคดี 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของผู้ใช้ เครื่องมือที่ใช้อ่าน และทัศนคติ และ 4) กลยุทธ์การส่งเสริมการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ เรียกว่า เอ็นพี-สมาร์ท ประกอบด้วยกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดกับหน่วยงานภายนอก กลยุทธ์การกำหนดนโยบายการทำงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดกับคณะ และกลยุทธ์การเชื่อมโยงหน้าที่ในห้องสมุด ตั้งแต่การแปลงทรัพยากรสารสนเทศให้เป็นทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล การจัดเก็บคลังหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การบริการและการประชาสัมพันธ์เชิงรุก ผลการประเมินกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่ามีความเหมาะสม และผลการทดลองโดยการพัฒนาเว็บพอร์ทัลรายการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านมนุษยศาสตร์ พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจในระดับมาก และสามารถขยายผลสู่การนำกลยุทธ์ไปใช้ในแต่ละสาขาวิชาth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectหนังสืออิเล็กทรอนิกส์th_TH
dc.subjectการส่งเสริมการอ่านth_TH
dc.titleการพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐth_TH
dc.title.alternativeStrategy development to promote electronic books usage of humanity graduate students in public universitiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาเอกth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศิลปศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to: 1) investigate the current status of supporting e-book usage in public universities; 2) investigate e-book usage by humanities graduate students in public universities; 3) determine factors affecting e-book usage by humanities graduate students in public universities; and 4) develop strategies to promote e-book usage of humanities graduate students in public universities. This study employed mixed methods. Selected by a simple random sampling method, the sample consisted of 374 graduate students in the fields of humanities from 1) languages and linguistics, 2) culture and literature, 3) archeology and history, and 4) philosophy, religion and theology. Fifty-five key informants, administrators and lecturers and library administrators from 9 public universities were also part of the sample. Also, there were 11 experts who evaluated the strategies and 34 stakeholders who took part in the pilot implementation. The research instruments were questionnaires and semi-structure interviews. The statistics used for quantitative data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test and One Way ANOVA. The qualitative data were analyzed by inductive content analysis method. The research findings can be summarized as follows: 1) In all libraries, there were the e-book system in the institutional repositories and the faculty policy to create e-textbooks so as to support the e-book usage. 2) Humanities graduate students in public universities mostly used digital rare books for conducting research and writing reports. The demographic comparison of e-book usage with respect to gender, age, study level, and field of study showed a statistically significant difference of .05 such as men read full e-books more than women, students under 26 years old used more e-books than older students, master’s degree students used more e-books than doctoral degree students, and archeology and history students used more e-books than languages and linguistics students as well as culture and literature students. 3) Factors affecting e-book usage of humanities graduate students in public universities were namely the perception factors, the reading devices and the attitudes factors. 4) The strategy to promote e-book usage of humanities graduate students in public universities was named NP-SMART, comprised of a strategy to build a cooperation network with external partners, the strategy aimed to set up a cooperation policy between library and faculty and strategy for connecting the work process from digitization to digital contents, e-book repository, services and pro-active public relations. The Humanities eBook Directory Web Portal was found suitable by the experts’ evaluation and was highly satisfactory among stakeholders after the pilot implementation to each field of study.en_US
dc.contributor.coadvisorทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญth_TH
dc.contributor.coadvisorสุทธินันท์ ชื่นชมth_TH
Appears in Collections:Arts-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม32.24 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons