Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10483
Title: ความคิดเห็นต่อตัวชี้วัดงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร : กรณีศึกษาจังหวัดหนองคาย
Other Titles: Agricultural extension indicators as perceived by agricultural extension workers : the case study of Nonkhai province
Authors: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนันต์ ศรีพันธุ์, 2489-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร--การทำงาน
Issue Date: 2545
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานทั่วไปของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร (2) ศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่มีต่อตัวชี้วัดงานส่งเสริมการเกษตร (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคใน ประเด็นตัวชี้วัดของสำนักงานเกษตรจังหวัดหน่องคาย จากการศึกษาพบว่า เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับจังหวัดมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นตัวชี้วัดการปฏิบัติงานทั้ง 3 งาน ดังนี้ (1) งานหัวหน้ากลุ่มงาน ตัวชี้วัดที่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ได้แก่ การปฏิบัติงานในเรื่องงานบริหารงานบุคคล (2) งานนักวิชาการเกษตร ตัวชี้วัดที่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ได้แก่ การปฏิบัติงานในเรื่องการจัดทำคำแนะนำส่งเสริม คู่มือ เอกสาร บทความ ตำรา แก่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกร และ (3) งานเจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี พัสดุ งานพิมพ์ และบันทึกข้อมูล ตัวชี้วัดที่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ได้แก่ การปฏิบัติงานในเรื่องการวางฎีกาเบิกจ่าย เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นตัวชี้วัดการปฏิบัติงานทั้ง 3 ประเด็น ได้แก่ การบริหารสำนักงาน การบริหารบุคคล และงานธุรการ พบว่า ในระดับอำเภอ เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อตัวทุก ชี้วัดโดยเฉพาะตัวชี้วัดการปฏิบัติงานในเรื่องสถิติข้อมูลต่าง ๆ การปฏิบัติงานในเรื่องการจตรายงาน การปฏิบัติงานในเรื่อง การปฏิบัติงาน - ส่งหนังสือเสร็จภายในกำหนด และส่งหลักฐานการขอเบิกเงินถูกต้องทันเวลา เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นตัวชี้วัดการปฏิบัติงานทั้ง 4 ประเด็น ได้แก่ (1) งานนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร พบว่า ในระดับตำบลเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อตัวชี้วัดการปฏิบัติ งานในเรื่องศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในด้านที่ตั้งศูนย์และข้อมูลประจำศูนย์ สำหรับ โครงการฟื้นฟูหลังการ พักชำระหนี้ พบว่า ในระดับตำบลเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อประเด็น ตัวชี้วัดการปฏิบัติงาน เรื่อง ทะเบียนผู้ร่วมโครงการ สำหรับการออกใบรับรองเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2545 / 2546 พบว่า ในระดับ ตำบลเห็นด้วยต่อประเด็นตัวชี้วัดการปฏิบัติงาน เรื่อง แผนการประชาสัมพันธ์ สำหรับการเดือนภัย / เตือนสถานการณ์ ภัยธรรมชาติ พบว่า ในระดับตำบลเห็นด้วยต่อประเด็นตัวชี้วัดการปฏิบัติงานเรื่องการจัดทำข่าวเดือนการระบาดศัตรูพืช สำหรับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ พบว่า ในระดับตำบลเห็นด้วยต่อตัวชี้วัดการปฏิบัติงานในเรื่องความร่วมมือใน การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (2) งานด้าน ข้อมูล / แผน พบว่า ในระดับตำบล เห็นด้วย อย่างยิ่งต่อตัวชี้วัดการปฏิบัติงานในเรื่องข้อมูลรายครัวเรือน /หมู่บ้าน (3) งานด้านถ่ายทอดความรู้ พบว่า ในระดับตำบล เห็นด้วยต่อตัวชี้วัดการปฏิบัติงานในเรื่องการจัดหาบุคคล เป้าหมาย และ(4) การบริหารโครงการ พบว่า ในระดับตำบล เห็นด้วยต่อตัวชี้วัดในเรื่องการเสนอของบประมาณ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10483
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
78996.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.02 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons