กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10487
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorนพดล อุดมวิศวกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorรัชดาวัลย์ น้อยจันทร์, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-11-16T02:52:21Z-
dc.date.available2023-11-16T02:52:21Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10487-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการการบริหารยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี และ (3) เสนอแนวทางในการสร้างความสำเร็จในการบริหารยุทธศาสตร์ สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ เกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี จำนวน 53,776 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 คน คำนวณโดยใช้สูตรทาโรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ผู้บริหารหน่วยงาน ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และผู้ทรงคุณวุฒิตามประเภทเกษตรกรรม รวมผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด 7 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรไม่มีความสามารถเพียงพอในด้านการแปรรูปและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจ ด้านการรวมกลุ่มสร้าง แผนการผลิตและด้านการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมในกระบวนการผลิต (2) ปัจจัยด้านการจัดตั้งกลุ่ม และเครือข่ายสนับสนุนการนำไปปฏิบัติ ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.709 ด้านการตอบสนองผู้นำไปปฏิบัติ ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.52 ด้านการเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.47 และด้านทรัพยากรนโยบายและการพัฒนาการผลิต ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.17 ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี (3) แนวทางในการสร้างความสำเร็จในการบริหารยุทธศาสตร์ ควรพัฒนาการจัดตั้งกลุ่มและเครือข่ายเกษตรกรยกระดับการพัฒนามาตรฐานฟาร์มสู่ฟาร์มอัจฉริยะ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ เพิ่มศักยภาพสร้างมาตรฐานสินค้าและสินค้าแปรรูปสู่ตลาดสากล พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและการวางแผน การผลิตสอดคล้องกับแผนการลงทุน เพื่อความสามารถด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนพัฒนาสู่ธุรกิจเกษตรth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectสถาบันเกษตรกร--ไทย--สระบุรีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ.th_TH
dc.titleการบริหารยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในจังหวัดสระบุรีth_TH
dc.title.alternativeStrategy management of strengthening the farmers and farmer institutions in Saraburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were (1) to study the problem conditions of strengthening the farmers and farmer institutions in Saraburi Province, (2) to analyze the key success factors of strengthening the farmers and farmer institutions in Saraburi Province and, (3) to propose the guidelines for strategy management of strengthening the farmers and farmer institutions in Saraburi Province. The study was a mixed-method research. The quantitative population was 53,776 registered farmers of the farmer agencies under the Ministry of Agriculture and Cooperatives in Saraburi. The samples were 397 people calculated by Taro Yamane’s formula. The study tool was a questionnaires. The collected data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t.Test, and multiple regression analysis. The key informants for qualitative part was 7 people; that is, administrators of the farmer agencies under the Ministry of Agriculture and Cooperatives and registered farmers. The study tool was a structured interview form. Furthermore, data was analyzed the content analysis. The results of the study revealed that (1) the farmers had low level of capabilities in processing and packaging development, low level of access to financial support, low level of networking in creating a production plan, and low level of the ability to apply innovative technologies in production processes. (2) The factor regarding the formation of groups and implementation support networks had influence of 0.709, the factor regarding response and implementation had influence of 0.52, factor regarding the value adding for agricultural products had influence of 0.47, and the factor regarding resource and production development had influence of 0.17, on the success of the strategic management. (3) The guidelines for strategic management success is to establish farmer Institutions and farmer networks, to use technology and innovation to upgrade farm standards to smart farms, to increase product potentials to international markets, and to develop management competency and production planning in accordance with the investment plan for the sake of financial sources accessibilityen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม27.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons