กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10487
ชื่อเรื่อง: การบริหารยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategy management of strengthening the farmers and farmer institutions in Saraburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นพดล อุดมวิศวกุล
รัชดาวัลย์ น้อยจันทร์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
สถาบันเกษตรกร--ไทย--สระบุรี
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการการบริหารยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี และ (3) เสนอแนวทางในการสร้างความสำเร็จในการบริหารยุทธศาสตร์ สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ เกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี จำนวน 53,776 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 คน คำนวณโดยใช้สูตรทาโรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ ผู้บริหารหน่วยงาน ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และผู้ทรงคุณวุฒิตามประเภทเกษตรกรรม รวมผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมด 7 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรไม่มีความสามารถเพียงพอในด้านการแปรรูปและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจ ด้านการรวมกลุ่มสร้าง แผนการผลิตและด้านการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมในกระบวนการผลิต (2) ปัจจัยด้านการจัดตั้งกลุ่ม และเครือข่ายสนับสนุนการนำไปปฏิบัติ ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.709 ด้านการตอบสนองผู้นำไปปฏิบัติ ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.52 ด้านการเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.47 และด้านทรัพยากรนโยบายและการพัฒนาการผลิต ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.17 ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในจังหวัดสระบุรี (3) แนวทางในการสร้างความสำเร็จในการบริหารยุทธศาสตร์ ควรพัฒนาการจัดตั้งกลุ่มและเครือข่ายเกษตรกรยกระดับการพัฒนามาตรฐานฟาร์มสู่ฟาร์มอัจฉริยะ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ เพิ่มศักยภาพสร้างมาตรฐานสินค้าและสินค้าแปรรูปสู่ตลาดสากล พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการและการวางแผน การผลิตสอดคล้องกับแผนการลงทุน เพื่อความสามารถด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนพัฒนาสู่ธุรกิจเกษตร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10487
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม27.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons