กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10503
ชื่อเรื่อง: ผู้ใหญ่บ้าน (ชาวอาข่า) กับการพัฒนาประชาธิปไตย : กรณีศึกษา บ้านห้วยส้านอาข่า ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Village headmen (Akha) and democratic development : a case study of Ban Huai San Akha, Pong Phrae sub-district, Mae Lao district, Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรวลัญช์ โรจนพล
วัชรินทร์ จันทร์เทพ, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้ใหญ่บ้าน--กิจกรรมทางการเมือง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของผู้ใหญ่บ้าน (ชาวอาข่า) ในการพัฒนาประชาธิปไตย (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของผู้ใหญ่บ้าน (ชาวอาข่า) ในการพัฒนาประชาธิปไตย (3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาของผู้ใหญ่บ้าน (ชาวอาข่า) ในการพัฒนาประชาธิปไตย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 14 คน ประกอบด้วย ข้าราชการส่วนภูมิภาค จำนวน 1 คน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 คน ผู้นำท้องที่ จำนวน 4 คน คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 2 คน และประชาชน จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัย (1) บทบาทของผู้ใหญ่บ้าน (ชาวอาข่า) ในการพัฒนาประชาธิปไตย พบว่า ผู้ใหญ่บ้านมีบทบาทในการพัฒนาประชาธิปไตย ดังนี้ 1.1 การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย 1.2 สร้างการมีส่วนร่วมทางการเมือง 1.3 การให้ความรู้, ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตย (2) ปัญหาของผู้ใหญ่บ้าน (ชาวอาข่าในการพัฒนาประชาธิปไตย คือ การขับเคลื่อนสร้างทัศนคติความเชื่อทางการเมืองแบบประชาธิปไตยแก่ชุมชนของผู้ใหญ่บ้าน (ชาวอาข่า) ยังประสบปัญหา เพราะประชาชนมีความเชื่อว่าการเมืองเป็นเรื่องของผู้นำ ปัญหาด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารหมู่บ้าน พบว่าการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากประชาชนยังให้ความสำคัญกับเรื่องปากท้องมากกว่าการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารหมู่บ้าน ปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย พบว่า การศึกษาและวิถีชีวิตของชาวอาช่าเป็นอุปสรรคต่อการความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตย (3) แนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาศักยภาพของผู้ใหญ่บ้าน (ชาวอาข่า) ในการพัฒนาประชาธิปไตย คือ การปลูกฝังความรู้สึกนึกคิด จิตสำนึกในวิถีประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนควรเริ่มจากการส่งเสริมให้ชุมชนมีการศึกษาเรียนรู้เพิ่มขึ้น การเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น การพิจารณาตัดสินใจ แก้ไขปัญหาและร่วมกันรับผิดชอบ โดยใช้การประชุมประจำเดือนและเวทีประชาคมหมู่บ้าน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10503
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons