Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10504
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธโสธร ตู้ทองคำth_TH
dc.contributor.authorสาลินี จงนบกลาง, 2526-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-16T06:59:52Z-
dc.date.available2023-11-16T06:59:52Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10504en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพความเป็นมาของปัญหาด้านที่ดิน ที่นำมาสู่การเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชนตำบลหนองมะค่า อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชนตำบลหนองมะค่า อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี (3) เพื่อศึกษาโครงสร้างกระบวนการ รูปแบบ ลักษณะ วิธีการ บทบาท และพฤติกรรมของตัวแสดงที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชนตำบลหนองมะค่า อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี (4) เพื่อศึกษาผลกระทบด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม จากการเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชนตำบลหนองมะค่า อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิจัยเอกสาร ใช้แบบสัมภาษณ์ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักการเมืองระดับท้องถิ่น 12 คน (2) เจ้าหน้าที่รัฐ 16 คน (3) แกนนำและสมาชิกกลุ่มผู้เรียกร้อง 2 คน (4) นักวิชาการ สื่อสารมวลชนและเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนหรือ ข้าราชการกลุ่มเกษตรกร 3 คน (5) ประชาชนภายในตำบลหนองมะค่า 10 คน (6) ประชาชนภายนอกตำบลหนองมะค่า 10 คน รวมเป็นจำนวน 53 คน และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพความเป็นมาของปัญหาด้านที่ดินที่นำไปสู่การเรียกร้องสิทธิในที่ดิน ด้านภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการทำการเกษตร ประวัติศาสตร์มีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนมานานก่อนมีการประกาศเป็นเขตป่าทับซ้อนที่ดินของประชาชน การเมืองการปกครองที่มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจในการดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ ผลิตสินค้าเกษตรในเชิงอุตสาหกรรม สังคมและวัฒนธรรมงานประเพณีบุญขั้งไฟที่แสดงให้เห็นวิถีชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสังคมเกษตรกรรมเปลี่ยนเป็นสังคมที่ทันสมัยนำมาสู่การชุมนุมเรียกร้องสิทธิในที่ดิน (2) ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเรียกร้องสิทธิในที่ดินด้านการเมืองกำหนดนโยบายท้องถิ่นด้านปัญหาที่ดิน การประกาศพื้นที่ทับซ้อนที่ดิน เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนเกิดความเสื่อมโทรม สังคมมีความเจริญก้าวหน้าทุก ๆ ด้าน เรียนรู้และเข้าใจหลักของสิทธิชุมชนที่ควรได้รับในที่ดิน แรงกระตุ้นที่ทำให้กลุ่มออกมาเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชน (3) กลุ่มเรียกร้องสิทธิในที่ดิน มีโครงสร้างการรวมกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบชั่วคราว กระบวนการเชิงปฏิสัมพันธ์ภายในและภายนอกของกลุ่ม รูปแบบของกลุ่มผู้เรียกร้องแบบเป็นทางการและแบบไม่เป็นทางการ ลักษณะการชุมนุมแบบชั่วคราวตามข้อเรียกร้องของกลุ่ม วิธีการส่งหนังสือยกเลิกแนวเขตป่า การกำหนดแนวเขตปกครองที่ชัดเจน บทบาทของกลุ่มผู้เรียกร้องต่อองค์การบริหารส่วนตำบลที่ทำหน้าเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก และพฤติกรรมของผู้นำท้องถิ่นเป็นตัวแสดงที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้อง (4) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชนด้านการเมือง มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ด้านเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มเกษตรกรทำการเกษตรแบบผสมผสาน สร้างรายได้ทุกฤดูกาล และด้านสังคม เป็นสังคมที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความสามัคคี เป็นสังคมที่เข้มแข็งมีศักยภาพในการแข่งขันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectที่ดิน--ไทย--ลพบุรีth_TH
dc.subjectการถือครองที่ดิน--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ.th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี.th_TH
dc.titleการเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชนตำบลหนองมะค่า อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรีth_TH
dc.title.alternativeClaims for land rights in Nong Makha subdistrict Khok Charoen district Lopburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are (1) to study the background of land problems which led to claims for land rights of Nong Makha subdistrict Khok Charoen District Lopburi, (2) to identify factors that cause the claims for land rights of Nong Makha subdistrict Khok Charoen District Lopburi, (3) to study the structure, process, pattern, character, method, role and behavior of representative related to claims for land rights of Nong Makha subdistrict Khok Charoen District Lopburi, and (4) to investigate political, economic and social impacts on claims for land rights of Nong Makha subdistrict Khok Charoen District Lopburi. This study was qualitative research by literature review and purposive sampling. There were 6 groups of key informants (53 samples in total) including local politicians (12 samples), government officials (16 samples), leaders and claim group members (2 samples), academics, journalists and Non-Governmental Organizations (NGOs) officials or farmers' group officials (3 samples), people who lived in Nong Makha subdistrict (10 samples) and people who lived outside Nong Makha subdistrict (10 samples). Then, participant observation and descriptive analysis method were used to describe this data. This study found that (1) the background on land problems which led to claims for land rights were as follows. : Geographically, it was a fertile area suitable for agriculture. There were settlements as communities before the declaration of forests overlapping with people's land. For political and governance matters, Subdistrict Administrative Organizations have been established to maintain of natural resources, community economic progress and industrial production of agricultural products. For society and culture, the Bun Bang Fai tradition that shows the way of life of the community related to the agricultural society has changed to a modern society, leading to claims for land rights. (2) Factors causing the claims for land rights were are as follows. : As for politics, local policies were established on land issues and the declaration of land overlapping areas. The economy grows along with more plantations resulting in the deterioration of natural resources in the community. Society has progressed in all aspect. The principles of community land rights should be learned and understood resulting in the group calling for community land rights. (3) The claims for land rights group were temporary economic interests’ structure through a process of internal and external interactions. The pattern of the claimants was formal and informal. The character of the gathering was temporary according to the requirement. The method was to send a letter to cancel the forest boundary line by clearly the boundary line. The role of the claimants to the Subdistrict Administrative Organization was to be coordinator with external agencies. In addition, the behavior of the local leaders was a key person related to claims for land rights. (4) The impacts on claims for land rights were as follows. : For political impact, all sectors were involved in finding solutions. For economic impact, farmers group could do integrated farming leading to making income in each season. In terms of social impact, the society was an interdependent, unified,strong with competitive potential.en_US
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม31.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons