Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10504
Title: | การเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชนตำบลหนองมะค่า อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี |
Other Titles: | Claims for land rights in Nong Makha subdistrict Khok Charoen district Lopburi Province |
Authors: | ธโสธร ตู้ทองคำ สาลินี จงนบกลาง, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี ที่ดิน--ไทย--ลพบุรี การถือครองที่ดิน--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี. |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพความเป็นมาของปัญหาด้านที่ดิน ที่นำมาสู่การเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชนตำบลหนองมะค่า อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชนตำบลหนองมะค่า อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี (3) เพื่อศึกษาโครงสร้างกระบวนการ รูปแบบ ลักษณะ วิธีการ บทบาท และพฤติกรรมของตัวแสดงที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชนตำบลหนองมะค่า อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี (4) เพื่อศึกษาผลกระทบด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม จากการเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชนตำบลหนองมะค่า อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิจัยเอกสาร ใช้แบบสัมภาษณ์ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักการเมืองระดับท้องถิ่น 12 คน (2) เจ้าหน้าที่รัฐ 16 คน (3) แกนนำและสมาชิกกลุ่มผู้เรียกร้อง 2 คน (4) นักวิชาการ สื่อสารมวลชนและเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชนหรือ ข้าราชการกลุ่มเกษตรกร 3 คน (5) ประชาชนภายในตำบลหนองมะค่า 10 คน (6) ประชาชนภายนอกตำบลหนองมะค่า 10 คน รวมเป็นจำนวน 53 คน และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพความเป็นมาของปัญหาด้านที่ดินที่นำไปสู่การเรียกร้องสิทธิในที่ดิน ด้านภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการทำการเกษตร ประวัติศาสตร์มีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนมานานก่อนมีการประกาศเป็นเขตป่าทับซ้อนที่ดินของประชาชน การเมืองการปกครองที่มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจในการดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ ผลิตสินค้าเกษตรในเชิงอุตสาหกรรม สังคมและวัฒนธรรมงานประเพณีบุญขั้งไฟที่แสดงให้เห็นวิถีชุมชนที่เกี่ยวข้องกับสังคมเกษตรกรรมเปลี่ยนเป็นสังคมที่ทันสมัยนำมาสู่การชุมนุมเรียกร้องสิทธิในที่ดิน (2) ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการเรียกร้องสิทธิในที่ดินด้านการเมืองกำหนดนโยบายท้องถิ่นด้านปัญหาที่ดิน การประกาศพื้นที่ทับซ้อนที่ดิน เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนเกิดความเสื่อมโทรม สังคมมีความเจริญก้าวหน้าทุก ๆ ด้าน เรียนรู้และเข้าใจหลักของสิทธิชุมชนที่ควรได้รับในที่ดิน แรงกระตุ้นที่ทำให้กลุ่มออกมาเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชน (3) กลุ่มเรียกร้องสิทธิในที่ดิน มีโครงสร้างการรวมกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแบบชั่วคราว กระบวนการเชิงปฏิสัมพันธ์ภายในและภายนอกของกลุ่ม รูปแบบของกลุ่มผู้เรียกร้องแบบเป็นทางการและแบบไม่เป็นทางการ ลักษณะการชุมนุมแบบชั่วคราวตามข้อเรียกร้องของกลุ่ม วิธีการส่งหนังสือยกเลิกแนวเขตป่า การกำหนดแนวเขตปกครองที่ชัดเจน บทบาทของกลุ่มผู้เรียกร้องต่อองค์การบริหารส่วนตำบลที่ทำหน้าเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก และพฤติกรรมของผู้นำท้องถิ่นเป็นตัวแสดงที่เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้อง (4) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเรียกร้องสิทธิในที่ดินของชุมชนด้านการเมือง มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ด้านเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มเกษตรกรทำการเกษตรแบบผสมผสาน สร้างรายได้ทุกฤดูกาล และด้านสังคม เป็นสังคมที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความสามัคคี เป็นสังคมที่เข้มแข็งมีศักยภาพในการแข่งขัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10504 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 31.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License