กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10522
ชื่อเรื่อง: คู่มือการจัดการระบบสถานพยาบาลตามาตรฐานสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก สำหรับบุคลากรโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Manual on healthcare system management according to alternative hospital quarantine standards for personnel at Samitivej Sukhumvit Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรีพร รัตนบูลย์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: สถานพยาบาล--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ที่กระจายไปทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศเพื่อการรักษาโรคในประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีการกักตัวเพื่อการฝ้าระวังการแพร่กระจายเชื้อโรค โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท เป็นโรงพยาบาลเอกชนระดับตติยภูมิที่สามารถรับผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศและต้องกักตัวในโรงพยาบาล แต่ยังไม่มีคู่มือการดำเนินงานที่ชัดเจน การจัดทำคู่มือการจัดการระบบสถานพยาบาลตามมาตรฐานสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือกสำหรับบุคลากร จะช่วยให้กระบวนการทำงานเป็นไปตามมาตรฐาน และลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 ส่งผลให้ผู้ป่วยและบุคลากรมีความเชื่อมั่นและปลอดภัยจากการติดเชื้อกระบวนการจัดทำคู่มือฯ ได้แก่ การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบสถานพยาบาลรองรับการเป็นสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก จัดทำร่างคู่มือฯ มีการตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาของร่างคู่มือฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.0 หลังจากปรับแก้ไขตามคำแนะนำ ได้นำคู่มือฯ ไปทดลองใช้กับบุคลากรทางการแพทย์ และฝ่ายสนับสนุนบริการในแผนกหอผู้ป่วยกักกัน โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท จำนวน 17 คน แล้วให้ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือฯ ดังกล่าว ผลการดำเนินงาน ได้คู่มือฯ ที่มีเนื้อหาประกอบด้วย (1) บทนำ (2) ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 (3) ความรู้เกี่ยวกับ Alternative Hospital Quarantine (4) แนวทางการจัดระบบสถานพยาบาลรองรับการเป็นสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และ (5) กฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้อง สำหรับผลการทดลองใช้ พบว่า บุคลากรมีความพึงพอใจต่อคู่มือโดยรวมในระดับมากที่สุด สำหรับความพึงพอใจรายด้าน พบคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ รูปแบบภาษาที่เข้าใจง่าย รองลงมา คือ การนำไปปฏิบัติได้จริงตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และความสอดคล้องของเนื้อหากับความต้องการของผู้ใช้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10522
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons