กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10523
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of the business incubator center project for educational enterprises of Office of the Vocational Education Commission
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินตภัสสร์ สุกการ, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อาชีวศึกษา
การศึกษาทางการช่าง--ไทย
การศึกษาทางวิชาชีพ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประเมินผลโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2) เปรียบเทียบระดับความสำเร็จโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) แนวทางการปรับปรุงโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ผ่านการฝึกอบรมจากโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้นจำนวน 32 คน โดยใช้ประชากรทั้งหมด 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินผลโครงการ พบว่า (1) การประเมินผลโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ได้แก่ ด้านปฏิกิริยา ด้านการเรียนรู้ ด้านพฤติกรรม และด้านผลสัมฤทธิ์ ตามลำดับ (2) ผู้ผ่านการฝึกอบรมโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ที่มีเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้แตกต่างกันมีระดับความสำเร็จไม่แตกต่างกัน (3) แนวทางการปรับปรุงโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้แก่ 1) ควรเน้นการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้เกิดสมรรถนะ สามารถนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ 2) การประเมินผลโครงการที่ดีและเหมาะสมจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) องค์การควรส่งเสริมสนับสนุนรูปแบบการบ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาให้สามารถนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10523
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons