กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10549
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการจัดการฟาร์มโคนมตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Dairy farm management extension according to good agricultural practices of farmers in Lam Sonthi District, Lop Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
บดินทร์ วงศ์พรหม, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุชา กิ่งวรรณ, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ฟาร์มโคนม--การจัดการ
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ลพบุรี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการฟาร์มตามมาตรฐานฟาร์มโคนมของเกษตรกร 3) ความต้องการการจัดการฟาร์มตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของการส่งเสริมการจัดการฟาร์มโคนมตามมาตรฐานตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี จำนวน 538 คนที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมปศุสัตว์ 2562/63 เหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคํานวณของทาโร่ยามาเน่ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.40 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จํานวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 3,98 คน ประสบการณ์ในการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 9.56 ปี ใช้ เงินทุนของตนเอง มีผลผลิตนานมดิบเฉลี่ย 5,523.00 กิโลกรัมต่อเดือน รายได้จากการขายนานมดิบเฉลี่ย 99,839.19 บาทต่อเดือน มีหนี้สินเฉลี่ย 238,014.93 บาทต่อครัวเรือน มีแรงงานในการเลี้ยงโคนมเฉลี่ย 2.70 คน 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการฟาร์มตามมาตรฐานฟาร์มโคนมระดับมาก ด้านการจัดการฟาร์ม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการบันทึกข้อมูล 3) ความต้องการการจัดการฟาร์มโคนมด้านสุขภาพสัตว์ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และด้านการผลิตนานมดิบ การเก็บรักษา และการขนส่งน้ำนมดิบ และ 4) ปัญหาการส่งเสริมการจัดการฟาร์มโคนมตามมาตรฐานตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านบุคลากร ขาดแคลนแรงงาน และการบันทึกข้อมูล ข้อเสนอแนะเจ้าหน้าที่ควรอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรโดยตรง และควรมีการบูรณาการในการอบรมให้ความรู้ด้านมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10549
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons