Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10564
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช | th_TH |
dc.contributor.author | มาลัย ศรีบุญยัง, 2525- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-11-21T06:09:35Z | - |
dc.date.available | 2023-11-21T06:09:35Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10564 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความภักดีของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุข (2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุขของผู้บริโภค (3) เปรียบเทียบระดับความภักดีของผู้บริโภคจำแนกตามข้อมูลประชากรศาสตร์ และ (4) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุข การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริโภคที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุข ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคอแครน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 385 คน ใช้วิธีการสุ่มตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้บริโภคมีระดับความภักดีต่อผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุขโดยรวมและรายด้านอยูในระดับมาก ได้แก่ ด้านทัศนคติ และด้านพฤติกรรม ตามลำดับ (2) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุขสำหรับบรรเทาอาการปวดมากที่สุด โดยมีสาเหตุสำคัญที่เลือกใช้คือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ มีความถี่ในการใช้ทุกวัน ค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้งโดยเฉลี่ย 501 – 1,000 บาท และซื้อที่จุดจำหน่ายสินค้า ณ สวนหอมมีสุข (3) ผู้บริโภคที่มีอายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีระดับความภักดีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคามีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | ความภักดีต่อชื่อตราผลิตภัณฑ์ | th_TH |
dc.subject | ความภักดีของลูกค้า | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--การจัดการธุรกิจและการบริการ | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคในจังหวัดระยองต่อผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุขในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | th_TH |
dc.title.alternative | Factors affecting the consumer loyalty in Rayong Province to Mesook agarwood product during COVID-19 epidemic | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการธุรกิจและการบริการ) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study are (1) to study the consumer loyalty level to Mesook agarwood product, (2) to study the consumer’s usage behavior of Mesook agarwood product, (3) to compare the loyalty level according to the consumer’s demographic data, and (4) to study the marketing mix factors affecting the consumer loyalty to Mesook agarwood product. This study is a quantitative research. The populations used in the study were the consumers who have used Mesook agarwood products in a certain unknown number of populations. The samples were defined using Cochran’s Formula to acquire the sample size in total of 385 persons applying the Convenience Sampling Method. The questionnaire was used as the instrument for collecting the data. The statistics applied in data analysis include Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, T-test, One-Way Anova, and Multiple Regression Analysis. The results of the study indicated that: (1) the loyalty levels to the Mesook agarwood product were in high levels in attitude and behavior, respectively, (2) most of the consumers used the Mesook agarwood products for pain relief and reasons of selecting this products were due to quality product, frequency of daily usage, average purchasing expense per time at 501 – 1,000 Baht, and purchase at the selling point of product at Mesook Farm, (3) the consumers with different age, occupation, and average monthly income had different loyalty level at statistical significance level of 0.05, and 4) the marketing mix factors in product, marketing promotion, and price affected the consumer loyalty to Mesook agarwood product at statistical significance level of 0.05. | en_US |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License