กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10564
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคในจังหวัดระยองต่อผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุขในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting the consumer loyalty in Rayong Province to Mesook agarwood product during COVID-19 epidemic |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ประภาศรี พงศ์ธนาพาณิช มาลัย ศรีบุญยัง, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ--การศึกษาเฉพาะกรณี ความภักดีต่อชื่อตราผลิตภัณฑ์ ความภักดีของลูกค้า การศึกษาอิสระ--การจัดการธุรกิจและการบริการ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความภักดีของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุข (2) ศึกษาพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุขของผู้บริโภค (3) เปรียบเทียบระดับความภักดีของผู้บริโภคจำแนกตามข้อมูลประชากรศาสตร์ และ (4) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุข การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้บริโภคที่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุข ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคอแครน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 385 คน ใช้วิธีการสุ่มตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้บริโภคมีระดับความภักดีต่อผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุขโดยรวมและรายด้านอยูในระดับมาก ได้แก่ ด้านทัศนคติ และด้านพฤติกรรม ตามลำดับ (2) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เคยใช้ผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุขสำหรับบรรเทาอาการปวดมากที่สุด โดยมีสาเหตุสำคัญที่เลือกใช้คือ ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ มีความถี่ในการใช้ทุกวัน ค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้งโดยเฉลี่ย 501 – 1,000 บาท และซื้อที่จุดจำหน่ายสินค้า ณ สวนหอมมีสุข (3) ผู้บริโภคที่มีอายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีระดับความภักดีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านราคามีผลต่อความภักดีของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ไม้กฤษณาแบรนด์มีสุข อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10564 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License