Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10588
Title: แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในส่วนงานขยายเขตไฟฟ้าแรงสูง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สำนักงานใหญ่)
Other Titles: Motivation influencing the work efficiency of employees in high voltage extension section of Provincial Electricity Authority (Headquarters)
Authors: ภูริพัฒน์ ชาญกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิรพันธ์ มณีสัมพันธ์, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค--พนักงาน
การจูงใจ (จิตวิทยา)
การทำงาน
ประสิทธิภาพ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในส่วนงานขยายเขตไฟฟ้าแรงสูง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สานักงานใหญ่) (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในส่วนงานขยายเขตไฟฟ้าแรงสูง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สานักงานใหญ่) จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ (3) ศึกษาแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในส่วนงานขยายเขตไฟฟ้าแรงสูง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สานักงานใหญ่) ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ด้านปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน (2) พนักงานที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกันมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ พบว่า ปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน คือ ด้านความรับผิดชอบต่องาน ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงานโดยร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานได้ ร้อยละ 70.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 สำหรับปัจจัยค้ำจุนที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน คือ ด้านตำแหน่งงาน ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านนโยบายและการบริหารขององค์กร ด้านชีวิตส่วนตัว และด้านความมั่นคง ในการทำงาน โดยร่วมกันทำนายประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานได้ ร้อยละ 66.7 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10588
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons