Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10591
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปวินี ไพรทองth_TH
dc.contributor.authorสมาน คชกฤษ, 2502-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-11-23T07:16:32Z-
dc.date.available2023-11-23T07:16:32Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/10591en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด และทฤษฎีการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาปัญหากฎหมายการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ (4) เสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ การค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตำรา หนังสือ และตัวบทกฎหมายของไทยและต่างประเทศ บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย วารสารเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และหน่วยงานของรัฐที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้เสียหาย ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้เสียหายในคดีอาญาทุกคนย่อมได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายและมีสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมเพื่อการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ตนเอง ซึ่งกระบวนการยุติธรรมในปัจจุบันต่างมุ่งให้ความสำคัญกับสิทธิของผู้ต้องหามากกว่าการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย (2) กฎหมายระหว่างประเทศที่คุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และปฏิญญาว่าด้วยหลักความยุติธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เสียหายในคดีอาญาและการใช้อำนาจโดยมิชอบ ค.ศ. 1985 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการใช้ความรุนแรงต่อสตรี และความรุนแรงในครอบครัว ส่วนกฎหมายในสหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐเกาหลีมีการตรากฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดเกี่ยวกับเพศขึ้นเป็นการเฉพาะ และกฎหมายไทยมีการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายเป็นการทั่วไปในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่มีการบัญญัติกฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศเป็นการเฉพาะ (3) ปัญหาที่พบ ได้แก่ ไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาการเก็บหลักฐานในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ไม่มีหลักเกณฑ์การแจ้งความคืบหน้าของคดีแก่ผู้เสียหาย ไม่มีการรับรองสิทธิว่าผู้เสียหายจะได้รับการปฏิบัติด้วยความเห็นอกเห็นใจ และได้รับการประกันในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไม่มีหลักเกณฑ์การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายจากการเผยแพร่ข่าวของสื่อมวลชน (4) ข้อเสนอแนวทางแก้ไข คือควรมีการบัญญัติสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้แก่ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเก็บหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ กรณียังไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศมาลงโทษได้ไว้ 20 ปี หรือตามอายุความ แล้วแต่ระยะเวลาใดจะสั้นกว่า ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับแจ้งความคืบหน้าของคดี ครั้งแรกเมื่อครบกำหนด 30 วัน นับแต่วันร้องทุกข์ หรือคำกล่าวโทษ ครั้งที่สอง เมื่อครบกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่แจ้งครั้งแรก ครั้งที่สามเมื่อสรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการ หรือมีการออกหมายจับหรือจับกุมผู้ต้องหา รับรองสิทธิของผู้เสียหายที่จะได้รับการปฏิบัติด้วยความเห็นอกเห็นใจ และรับรองสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองชื่อเสียงและความเป็นส่วนตัว โดยกำหนดห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่ หัวหน้าสถาบันหรือองค์กรใด ๆ หรือผู้ที่เคยทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับคดี เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียหายที่เป็นเด็ก รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ที่อาจระบุถึงเด็กได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectอาชญากรรมทางเพศth_TH
dc.subjectผู้เสียหายth_TH
dc.subjectกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศth_TH
dc.title.alternativeLegal issues concerning the protection of victims' rights from sexual assault casesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study were: (1) to study the background, concepts and theories about the protection of victims’ rights in sexual offence cases; (2) to study laws involved with the protection of victims’ rights in sexual offence cases in Thailand and other countries; (3) to study problems with the protection of victims’ rights in sexual offence cases; and (4) to propose amendments to current laws about the protection of victims’ rights in sexual offence cases. This was a qualitative study based on analysis of documents including textbooks, books, laws from Thailand and other countries, essays, journal articles, theses and dissertations, academic reports, and electronic media as well as information from government agencies that provide legal assistance for victims. The results showed that (1) Victims of all criminal cases will be protected by law and have the right to fair procedures. to demand justice for themselves , which the current justice process, Both focus on the rights of the accused. more than protecting the rights of victims (2) International laws that concern the protection of victims’ rights are the Declaration of Human Rights, the Declaration of Basic Principles of Justice for Victims of Crime and Abuse of Power 1985 and the Convention on the Prevention and Suppression of Violence against Women and Domestic Violence. In the USA and South Korea, specific laws aimed at protecting the rights of victims in sexual offence cases have been enacted. In Thailand, some general protections of victims’ rights are included in the Criminal Procedure Code, but there are no specific laws regarding the protection of victims’ rights in cases of sexual offences. (3) The following problems were identified: there is no law covering the length of time that evidence must be stored in sexual offence cases; there is no principle about informing the victim about the state of progress in the case; there is no safeguard guaranteeing that the victim has the right to be treated in a kind and compassionate manner and with regard to human dignity; and there is no principle to protect the rights of victims from having the case reported on in the mass media. (4) The author recommends that the Thai Criminal Procedure Code should be amended to include enacting to protect the rights of victims in sexual offence cases as follows: in the case the perpetrator has not yet been apprehended and sentenced, scientific evidence related to the case should be stored for at least 20 years or until the time limit on the case wears out, whichever is shorter; the victim must be informed of the progress on the case, first 30 days after charges were filed, another time 60 days after the first progress report, and a third time when an initial conclusion was sent to the public prosecutor or when a warrant of arrest was issued or the accused was apprehended; there should be assured that the victim will be treated with compassion; the reputation and privacy of the victim will be protected by prohibiting personnel, heads of any institutions or organizations or anyone else who involved in working with the case from revealing personal information about the victim or information that could reveal the identity of the victim if the victim is a minor.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons